ค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตรจึงทำให้ได้รับแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่องและคงที่ตลอดทั้งปี ความเข้มของแสงโดยเฉลี่ยของการแผ่รังสีในแต่ละวันในประเทศไทยมีประมาณ 5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับการพัฒนา
ซูม
พระสงฆ์ต้อนรับกรีนพีซในการส่งมอบเซลล์แสงอาทิตย์ หมู่บ้านในอำเภอบ้านกรูดเป็นสถานที่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ แต่วันนี้ชุมชนบ้านกรูดได้รับแหล่งพลังงานจากกรีนพีซที่พวกเขาต้องการอย่างแท้จริง นั่นคือ พลังงานแสงอาทิตย์หมุนเวียนที่สะอาด
ในปัจจุบันจำนวนเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในประเทศไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 3.73 เมกะวัตต์ รัฐบาลไทยได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ให้ได้ถึง 17-20 เมกะวัตต์ ภายในพ.ศ. 2553 นอกจากนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าโครงการเซลล์แสงอาทิตย์ต่างๆ ที่มีอยู่อาจนำไปสู่การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศได้มากถึงร้อยละ 5-10 ของพลังงานทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศ ในระยะเวลาอีก 10-20 ปีข้างหน้า

จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับแหล่งพลังงานทางเลือกในอนาคตที่อยากให้นำมาใช้มากที่สุด โดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2540 พบว่า พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่คนไทยต้องการนำมาใช้ในอนาคตมากที่สุด เหตุผลที่สำคัญคือ พลังงานแสงอาทิตย์ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและมีอยู่ในทุกพื้นที่

อุปสรรคที่สำคัญของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ คือ ต้นทุนที่สูงเมื่อเทียบกับการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์มีราคาถึง 10 บาทต่อหน่วย ในขณะที่พลังงานที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิลมีราคาถูกกว่าถึง 5 เท่าตัว เหตุที่เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มีราคาแพง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีนำเข้าจากต่างประเทศ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้จึงมีราคาสูง จึงทำให้มีผู้สนใจไม่มากเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตาม หากเราพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศจนสามารถผลิตอุปกรณ์ต่างๆได้เองโดยไม่ต้องอาศัยการนำเข้า ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ในอนาคตจะมีราคาถูกลงมาก เมื่อตลาดมีความต้องการพลังงานประเภทนี้เพิ่มขึ้นก็จะทำให้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่นอกระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ

ที่มา http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/solutions/solar/thailand/

พลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานแสงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลกของเรา พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ส่วนใหญ่เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำพวกซิลิคอน มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 44 เปอร์เซนต์

ในส่วนของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง พลังงานโดยเฉลี่ยซึ่งรับได้ทั่วประเทศประมาณ 4 ถึง 4.5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ประกอบด้วยพลังงานจากรังสีตรง (Direct Radiation) ประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานรังสีกระจาย (Diffused Radiation) ซึ่งเกิดจากละอองน้ำในบรรยากาศ(เมฆ) ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าบริเวณที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไปทั้งแนวเหนือ - ใต้

การอบรมหลักสูตรการใช้ประโยชน์จากเซลล์แสงอาทิตย์

การอบรมหลักสูตรการใช้ประโยชน์จากเซลล์แสงอาทิตย์ ครั้งที่ 6
วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2557 เวลา 9.00-17.00 น. รวม 7 ชั่วโมง
รายละเอียดอบรม
- ความรู้พื้นฐาน
- การนำไปใช้งาน
- แนะนำการติดตั้งระบบ
- รับอุปกรณ์พื้นฐานของหน่วยผลิตไฟฟ้า
แผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 5 วัตต์
Charge Controller 10A
แบตเตอรี่ 2.8 AH x 12V
หลอด LED 3 วัตต์
ค่าอบรม1000 บาท ต่อท่าน รับ 50 ท่าน ( รวมค่าอาหารกลางวัน , เบรคกาแฟ )
ด่วน!!!! สำรองที่นั่งก่อน เวลา 12.00 ของวันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557
สถานที่อบรมโรงงานศรีราชาตามรายละเอียดแนบท้าย
สมัครได้ทาง Email : fullsolarmarketing@gmail.com ชำระค่าสมัครโดยโอนเงินผ่านธนาคารกรุงเทพ ชื่อ บ/ช บริษัท ฟูโซล่าร์ จำกัด เลขบัญชี 059-084-4718 สาขาสรงประภา ดอนเมือง
ท่านใดโอนเงินแล้วรบกวนส่ง Email ใบโอนเงิน ชื่อ-สกุล ที่อยู่เบอร์ติดต่อให้ชัดเจนพร้อมเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรด้วยคะ ถ้าท่านใดไม่ทำตามเงื่อนไขทางเราจะตัดสิทธิ์ท่านทันทีโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า


ที่มา https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=316587588545143&id=122171847986719

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การอบรมหลักสูตรการใช้ประโยชน์จากเซลล์แสงอาทิตย์ ครั้งที่ 3


วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2557 เวลา 9.00-17.00 น. รวม 7 ชั่วโมง
รายละเอียดอบรม
- ความรู้พื้นฐาน
- การนำไปใช้งาน
- แนะนำการติดตั้งระบบ
- รับอุปกรณ์พื้นฐานของหน่วยผลิตไฟฟ้า
แผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 5 วัตต์
Charge Controller 10A
แบตเตอรี่ 2.8 AH x 12V
หลอด LED 3 วัตต์
ค่าอบรม1000 บาท ต่อท่าน รับ 50 ท่าน ( รวมค่าอาหารกลางวัน , เบรคกาแฟ )
ด่วน!!!! สำรองที่นั่งก่อน เวลา 12.00 ของวันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557
สถานที่อบรมโรงงานศรีราชาตามรายละเอียดแนบท้าย
สมัครได้ทาง Email : fullsolarmarketing@gmail.com ชำระค่าสมัครโดยโอนเงินผ่านธนาคารกรุงเทพ ชื่อ บ/ช บริษัท ฟูโซล่าร์ จำกัด เลขบัญชี 059-084-4718 สาขาสรงประภา ดอนเมือง
ท่านใดโอนเงินแล้วรบกวนส่ง Email ใบโอนเงิน ชื่อ-สกุล ที่อยู่เบอร์ติดต่อให้ชัดเจนพร้อมเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรด้วยคะ ถ้าท่านใดไม่ทำตามเงื่อนไขทางเราจะตัดสิทธิ์ท่านทันทีโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

solar map

แผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของเดือนต่างๆ

แผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยตลอดปี

จะเห็นว่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงตามพื้นที่และเวลาในรอบปีซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1) การกระจายความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของเดือนมกราคมบริเวณตอนเหนือของประเทศจะมีค่าโดยเฉลี่ยต่ำกว่าภาคอื่นๆ ถึงแม้ว่าเดือนมกราคมเป็นช่วงฤดูหนาว สภาพท้องฟ้าโดยทั่วไปมีเมฆน้อย
แต่ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์มิได้ขึ้นกับสภาพท้องฟ้าเพียงอย่างเดียว หากยังขึ้นอยู่กับมุมตกกระทบของ
รังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลก มุมดังกล่าวจะขึ้นกับละติจูดของตำแหน่งบนพื้นโลกและตำแหน่งของ
ดวงอาทิตย์ ในเดือนมกราคมดวงอาทิตย์จะอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าประมาณ 20 องศา ทางซีก
ฟ้าใต้ ทำให้ค่ามุมตกกระทบรังสีดวงอาทิตย์ในบริเวณทางตอนเหนือของประเทศมีค่ามากกว่าทางตอน
ใต้ของประเทศ ทำให้ภาคเหนือได้รับรังสีดวงอาทิตย์น้อยกว่า โดยมีค่ารังสีรวมรายวันเฉลี่ยต่อเดือน
ในช่วง 15-18 MJ/m2-day แผ่เป็นบริเวณกว้างจนถึงภาคกลางตอนบน สำหรับภาคกลางและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือจะมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สูงกว่าภาคอื่นๆ โดยส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในช่วง 18-
19 MJ/m2-day แผ่เป็นบริเวณกว้าง สำหรับภาคใต้ตอนบนและบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกจะมีการ
กระจายของค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์อยู่ในช่วง 16 -18 MJ/m2-day ทั้งนี้เนื่องจากด้านตะวันออกได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมมากกว่าด้านตะวันตก สำหรับภาคใต้
ตอนล่างฝั่งตะวันตกจะมีบางพื้นที่ เช่น บริเวณภูเก็ต พังงา และกระบี่ มีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ช่วง 18-
20 MJ/m2-day
2) การกระจายความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของเดือนกุมภาพันธ์ รังสีดวงอาทิตย์จะมีค่าเพิ่มขึ้น
จากเดือนมกราคม โดยทางตอนเหนือสุดของประเทศมีค่าความเข้มประมาณ 17-19 MJ/m2-day ส่วน
บริเวณทางตอนกลางของประเทศ ความเข้มสูงขึ้นโดยจะอยู่ในช่วง 20-22 MJ/m2-day บริเวณทางตอน
ใต้ของประเทศและภาคตะวันตกตอนใต้ซึ่งติดกับชายฝั่งมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อ
เดือนอยู่ในช่วง 19-21 MJ/m2-day
3) การกระจายความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของเดือนมีนาคม ดวงอาทิตย์จะอยู่บริเวณเส้นศูนย์
สูตรท้องฟ้าและเป็นช่วงฤดูร้อน พื้นที่โดยทั่วไปจึงได้รับรังสีดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้น โดยทางตอนใต้และ
ตะวันตกของประเทศมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สูงอยู่ในช่วง 20-22 MJ/m2-day ส่วนภาคกลางและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือมีการกระจายความเข้มรังสีดวงอาทิตย์เป็นแถบกว้างซึ่งมีความเข้มอยู่ในช่วง 20-23MJ/m2-day กระจายอยู่ทั่วบริเวณ และภาคเหนือมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์แปรค่าอยู่ในช่วง 18-22
MJ/m2-day
4) การกระจายของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของเดือนเมษายน มุมตกกระทบของรังสีดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงวันจะตั้งฉากหรือเกือบตั้งฉากกับพื้นผิวโลกทั่วทั้งประเทศ เนื่องจากช่วงดังกล่าวอยู่ในช่วงฤดูแล้ง ท้องฟ้าค่อนข้างแจ่มใส ทำให้ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สูงทั่วทั้งประเทศ โดยกระจายอยู่ในช่วง 18-23 MJ/m2-day โดยเฉพาะทางภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ รังสีดวงอาทิตย์มีความเข้มสูงกระจายอยู่ระหว่าง 20-23 MJ/m2-day เนื่องจากเป็นบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่าทางตอนเหนือของประเทศ บริเวณภาคเหนือยังคงมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สูงประมาณ 19-22MJ/m2-day ในขณะที่ภาคตะวันออกจะมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ประมาณ 17-20 MJ/m2-day
5) การกระจายของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของเดือนพฤษภาคม ในเดือนพฤษภาคมทั่วทั้งประเทศเริ่มได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมมากและบางวันมีฝนตก ทำให้บริเวณทั่วทั้งประเทศมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ลดลงจากเดือนเมษายนโดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์กระจายอยู่ในช่วง 16-21 MJ/m2-day ตลอดแนวเทือกเขาของภาคตะวันตกค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ลดลงอยู่โดยจะในช่วง 15-19 MJ/m2-day ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศมีค่าอยู่ในช่วง 15-18 MJ/m2-day เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ค่อนข้างมาก แต่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังคงมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์อยู่ในช่วง 18-20 MJ/m2-dayเพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้น้อย สำหรับภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ค่อนข้างน้อย ทำให้ค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์มีค่าสูงประมาณ 20-22 MJ/m2-day
6) การกระจายของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของเดือนมิถุนายน อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีผลต่อความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ในบริเวณต่างๆ ของประเทศสูงขึ้น ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมและมีฝนตกมาก ทำให้ทั่วทั้งประเทศได้รับรังสีดวงอาทิตย์ลดลงจากเดือนพฤษภาคม โดยค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ทั่วประเทศกระจายอยู่ในช่วง 15-21 MJ/m2-day สำหรับบริเวณเงาฝนในเขตภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศในจังหวัดสิงห์บุรี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สุรินทร์บุรีรัมย์ ศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงยังมีค่าความเข้มสูงอยู่ในช่วง 20-22 MJ/m2-day
7) การกระจายของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของเดือนกรกฎาคม โดยในเดือนนี้พื้นที่ทั่วประเทศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้มีเมฆและฝนกระจายอยู่ทั่วประเทศซึ่งเป็นผลทำให้ค่ารังสีดวงอาทิตย์ลดลง กล่าวคือมีค่าส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 14-20 MJ/m2-day โดยเฉพาะทางภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันตกของประเทศซึ่งติดกับเทือกเขาตะนาวศรี และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ต่ำประมาณ 14-17 MJ/m2-day โดยบริเวณความเข้มสูง 18-20 MJ/m2-day จะปรากฏเป็นหย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
8) การกระจายของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของเดือนสิงหาคม พื้นที่ทั่วประเทศยังคงอยู่ในอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะการกระจายความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ทั่วประเทศมีค่าลดลงจากเดือนกรกฎาคม โดยการกระจายของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ทั่วทั้งประเทศอยู่ในช่วง 13-19MJ/m2-day แต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศยังคงมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สูงคือมีค่าอยู่ในช่วง 18-20 MJ/m2-day ส่วนทางภาคตะวันตกที่ติดกับเทือกเขาและภาคใต้ฝั่งภาคตะวันตกของประเทศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทำให้มีค่าต่ำสุดในรอบปี โดยมีค่าประมาณ 13-16 MJ/m2-day9) การกระจายของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของเดือนกันยายน ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์จะเคลื่อนตัวมาอยู่ที่ศูนย์สูตรท้องฟ้า แต่พื้นที่ทั่วประเทศยังถูกปกคลุมด้วยเมฆอันเนื่องมาจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้พื้นที่ทุกภาคของประเทศยังคงมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ค่อนข้างต่ำ กล่าวคือส่วนใหญ่มีค่ากระจายอยู่ในช่วง 14-19 MJ/m2-day มีเพียงบริเวณพื้นที่เล็กๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นบริเวณเงาฝนที่แห้งแล้งมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สูงอยู่ในช่วง 19-21 MJ/m2-day
10) การกระจายของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของเดือนตุลาคม โดยทั่วไปในช่วงเดือนตุลาคมประเทศไทยจะเริ่มได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ปริมาณฝนลดลงและท้องฟ้า
แจ่มใส แต่เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปอยู่ทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าทำให้รังสี
ดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบมีค่าลดลงจากเดือนกันยายน แต่ด้วยสภาพท้องฟ้าที่แจ่มใสจึงทำให้การกระจาย
รังสีดวงอาทิตย์ของภาคและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์อยู่
ในช่วง 17-19 MJ/m2-day ส่วนบริเวณอื่นๆ ของประเทศยังคงมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อ
เดือนไม่ต่างกับเดือนกันยายน ยกเว้นทางภาคเหนือตอนบน และภาคใต้ของประเทศที่มีความเข้มรังสี
ดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อเดือนลดลงเป็น 14-17 MJ/m2-day
11) การกระจายของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของเดือนพฤศจิกายน พื้นที่ทั่วประเทศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างมาก ทำให้ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมมาก ค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์จึงมีค่าน้อยกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่วนภาคเหนือก็ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ท้องฟ้าจะมีสภาพของฟ้าหลัว ซึ่งทำให้ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ที่ได้รับมีค่าน้อยอยู่ในช่วง 13-17 MJ/m2-day สำหรับภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการกระจายความเข้มรังสีดวงอาทิตย์คล้ายคลึงกัน คือมีค่าอยู่ในช่วง 18-19 MJ/m2-day
12) การกระจายของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของเดือนธันวาคม ในเดือนนี้ดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวไปอยู่ทางตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้ามากที่สุด ทำให้รังสีดวงอาทิตย์นอกบรรยากาศโลกบนพื้นราบมีค่าต่ำสุด ถึงแม้ว่าท้องฟ้าจะมีสภาพแจ่มใส แต่รังสีดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบพื้นผิวโลกบริเวณประเทศไทยยังคงมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนโดยเป็นผลมาจากตำแหน่งดวงอาทิตย์ กล่าวคือทางตอนใต้ รังสีดวงอาทิตย์กระจายอยู่ในช่วง 12-16 MJ/m2-day ส่วนบริเวณอื่นของประเทศค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์อยู่ในช่วง 17-19 MJ/m2-day โดยทางภาคเหนือตอนบนของประเทศ ค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์มีค่าลดลงอยู่ในช่วง 13-16 MJ/m2-dayจากลักษณะของการกระจายตามพื้นที่ของรังสีดวงอาทิตย์รายเดือนจะเห็นว่าการกระจายตามพื้นที่ดังกล่าวได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ในกรณีของแผนที่รายปี (รูปที่ 3.72) จะเห็นว่าบริเวณที่ได้รับรังสีดวงอาทิตย์สูงสุด(19-20 MJ/m2-day) จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่นมหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร และอุบลราชธานี เนื่องจากเป็นบริเวณที่ราบสูงค่อนข้างแห้งแล้งมีการก่อตัวของเมฆน้อยจึงทำให้รังสีดวงอาทิตย์มีค่าสูง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่รับรังสีดวงอาทิตย์สูงอยู่ในบางส่วนของภาคกลางในบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร ชัยนาท สิงห์บุรีอ่างทอง สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ทั้งนี้เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งมีการก่อตัวของเมฆน้อยกว่าบริเวณอื่น สำหรับภาคเหนือ ด้านตะวันตกของภาคกลาง และภาคใต้ รอยต่อระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกจะได้รับรังสีดวงอาทิตย์ค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นภูเขา และป่าไม้ ซึ่งมีการก่อตัวของเมฆและฝนมากกว่าบริเวณพื้นราบ รังสีดวงอาทิตย์ในพื้นที่ดังกล่าวจึงมีค่าต่ำ กรณีของภาคใต้จะมีทั้งบริเวณที่ได้รับรังสีดวงอาทิตย์สูงและต่ำกระจายกันอยู่ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของลมมรสุมและลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตามเมื่อเฉลี่ยความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ทุกพื้นที่ตลอดทั้งปี พบว่ามีค่าเท่ากับ 18.0 MJ/m2-day ซึ่งถือว่ามีค่าค่อนข้างสูง
3.4.1 การวิเคราะห์ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย จากข้อมูลแผนที่ที่ได้ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์สามารถบอกได้ในรูปของปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบในบริเวณนั้นๆ ในรูปของค่าเฉลี่ยระยะยาว ซึ่งสามารถแสดงในรูปแผนที่รายเดือน (รูปที่ 3.71) และรายปี (รูปที่ 3.72) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ผู้ดำเนินโครงการได้นำค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ที่คำนวณได้จากแบบจำลองในทุกพิกเซลมาทำการเขียนกราฟแจกแจงความถี่ ผลที่ได้แสดงดังรูปที่ 3.73 จากกราฟจะเห็นว่า 39.8 % ของพื้นที่ในประเทศไทย มีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปีอยู่ในช่วง 17-18MJ/m2-day และ 35.6% ของพื้นที่ทั้งหมดจะได้รับรังสีดวงอาทิตย์อยู่ในช่วง 18-19 MJ/m2-day ส่วนบริเวณที่มีศักยภาพพลังงานค่อนข้างต่ำในช่วง 15-16 MJ/m2-day มีเพียงประมาณ 0.4% ของพื้นที่ทั้งหมด เมื่อทำการเฉลี่ยค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ทั่วประเทศไทยจากทุกพื้นที่เป็นค่ารายวันเฉลี่ยต่อปีจะได้เท่ากับ 18.0 MJ/m2-day เมื่อทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลจากประเทศอื่นๆ (รูปที่ 3.74) จะเห็นว่าประเทศไทยมีค่าศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง

การเปรียบเทียบความเข้มรังสีดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปีที่ประเทศต่างๆ ได้รับ

ในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์เราจำเป็นต้องทราบการแปรค่าในรอบปีของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ด้วย ในโครงการนี้ผู้ดำเนินโครงการจึงได้ทำการคำนวณค่าเฉลี่ยความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบทุกพื้นที่ทั่วประเทศจากแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์รายเดือน แล้วนำมาเขียนกราฟกับเวลาในรอบปี ผลที่ได้แสดงไว้ในรูป

การแปรค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อเดือนโดยเฉลี่ยทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

จะเห็นว่าปริมาณความเข้มรังสีดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อเดือนโดยเฉลี่ยทุกพื้นที่ที่คำนวณได้จะแปรค่าในรอบปีอยู่ในช่วงระหว่าง 16-21 MJ/m2-day โดยมีค่าค่อยๆ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมและสูงสุดในเดือนเมษายน แล้วค่อยๆ ลดลงต่ำอีกครั้งในเดือนสิงหาคมและเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอีกครั้งในเดือนกันยายนแล้วจึงลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคม จากผลที่ได้นี้แสดงให้เห็นว่าระดับของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ในประเทศไทยมีค่าค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นผลดีต่อการประยุกต์ใช้ด้านพลังงานแสงอาทิตย์

ที่มา  http://www.dede.go.th/