การให้ความเย็นแก่อาคารทำได้หลายวิธี การติดตั้ง
เครื่องปรับอากาศเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุด
แต่ก็เป็นวิธีที่สูญเสียพลังงานมากที่สุด ดังนั้นการลดหรือป้องกันไม่ให้ความร้อนเข้าสู่อาคารจึงมีส่วนช่วย
อย่างสำคัญในการที่จะทำให้อาคารเย็นและสามารถลดขนาดของเครื่องปรับอากาศที่ใช้ ทำให้เกิดการ
ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้
1.การลดปริมาณรังสีความร้อนที่จะผ่านเข้าทาง
กระจกหน้าต่าง
ใช้อุปกรณ์เครื่องบังแดดภายนอกอาคารเพื่อมิให้กระจกถูกแดดโดยตรง
ผ้าใบ (Awning)เหมาะสำหรับผนังกระจกผืนใหญ่ เช่นห้างสรรพสินค้า
แผงครีบ (Fin) เหมาะสำหรับให้ร่มเงาแก่หน้าต่างกระจกที่หันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตก
กันสาด (Overhang) จะให้ผลดีในการบังแดดสำหรับกระจกที่หันไปทางทิศใต้ ทิศตะวันออกเฉียง
ใต้หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้
ต้นไม้ สามารถให้ร่มเงากระจกได้ดีทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเหมาะสำหรับอาคารท
ี่เตี้ยกว่าต้นไม้
-
ผ้าม่านหรือ
มู่ลี่บังแดดภายในอาคารด้านหลังกระจก เป็นการป้องกัน รังสีความร้อนทางอ้อม ควร
เลือกชนิดใบอยู่ในแนวนอนสำหรับกระจกด้านทิศใต้ ส่วนกระจกด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกนั้น
ควรเลือกชนิดที่ใบอยู่ในแนวดิ่ง
- เลือกกระจกที่ยอมให้แสงคลื่นสั้นผ่านได้น้อย แต่ให้แสงที่ช่วยในการมองเห็นผ่านได้มาก เช่นชนิด
ที่เรียกว่า
Heat Mirror หรือติดฟิล์มสะท้อนแสงไว้ด้านหลังแผ่นกระจก อาคารใดที่มีความจำเป็นต้องใช้
กระจก 2 ชั้น เพื่อป้องกันเสียงดังภายนอกแล้ว ควรให้กระจกชั้นนอกเป็นกระจกกรองแสง หรือติดฟิล์ม
สะท้อนแสงที่ด้านหลังของกระจกชั้นนอก ส่วนกระจกชั้นในเป็นกระจกใสธรรมดา จะใช้ลดความร้อนได้เป็น
อันมาก
- หลีกเลี่ยงการใช้ Skylight ที่หลังคา เนื่องจากรังสีความร้อนที่ส่งผ่าน Skylight จะมากกว่าที่ผ่าน
เข้ามาทางกระจกด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ทั้งมีค่าสูงตลอดวัน แต่ถ้าจำเป็นต้องออกแบบให้มี
Skylight ควรทำแผงเกล็ดบังแดด และออกแบบและติดตั้งให้ถูกทิศทาง
2. การลดการนำความร้อนผ่านผนังทึบ
- ใช้
ฉนวนกันความร้อน จำพวก โพลีเอทธีลีนโฟม (Polyethylene Foam) ที่ปิดทับด้านนอกด้วยวัสดุ
ทนไฟ เช่น ซีเมนต์บล๊อกที่สอดไส้ด้วยแผ่นโฟม การบุฉนวนนี้ควรบุที่ด้านนอกของผนังจะดีที่สุดเพราะ
ความร้อนจะถูกเนื้อฉนวนป้องกันมิให้เข้ามาในอาคารไว้ตั้งแต่แรก
- ทาสีด้านอกของกำแพงด้วยสีขาว สีครีม ใช้วัสดุที่มีผิวมันสีอ่อน
- ทำที่บังแดด อาจเป็นแผงครีบในแนวดิ่งหรือแนวนอน เพื่อให้กำแพงอยู่ในร่มเงาตลอดทั้งวัน แต่ควร
ให้อากาศภายนอกไหลผ่านช่องว่างระหว่างที่บังแดดและตัวผนังได้โดยสะดวก เพื่อมิให้เกิดการสะสมของ
ความร้อนขึ้น
3.การลดการนำความร้อนผ่านหลังคา
- ใช้ฉนวนกับความร้อนจำพวกเดียวกับที่ใช้บุผนัง โดยบุแนบกับพื้นล่างของหลังคาที่ส่วนที่ทึบแสงหรือ
บนเพดานใต้หลังคาเพื่อลดการถ่ายเทความร้อน
- ใช้สีสะท้อนแสง สีกันความร้อนทำจากเซรามิก (Ceramic Coating) กระเบื้องสีอ่อนหรือก้อนกรวด
สีขาว ปูที่ผิวด้านบนของหลังคาเพื่อลดการดูดกลืนความร้อน
- ทำหลังคาบังแดด ซึ่งอาจเป็นหลังคาชนิดเบาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทระหว่างกลาง
ได้สะดวกเป็นการป้องกันมิให้หลังคาอาคารถูกแดดโดยตรง
- ป้องกันมิให้ Skylight ถูกแดดโดยตรง
- ใช้แผ่นฟิล์มอะลูมินั่มบาง ๆ ที่สะท้อนรังสีความร้อนได้ดี (Reflective Aluminum Film) ติดตั้ง
ไว้ที่ด้านล่างของหลังคา
4. การลดความร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในอาคาร
- ติดตั้งเครื่องใช้ในสำนักงานบางส่วน เช่นเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์แบบไว้นอกห้องปรับอากาศ
- ปิดไฟแสงสว่างและเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้
- ติดตั้ง Hood (
เครื่องดูดกลิ่นหรือดูดควัน) ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการหุงต้มทุกชนิด อากาศที่ใช้กับ
Hood ควรมาจากภายนอกอาคารไม่ควรใช้อากาศเย็นจากเครื่องปรับอากาศโดยตรง
-ภาชนะใดที่มีอุณหภูมิผิวหน้าค่อนข้างสูง ควรหุ้มด้วยฉนวนกันความร้อน
5.การลดอัตราการรั่วซึมของอากาศเย็นออกภายนอกให้น้อยลง
-รอยต่อต่าง ๆ เช่น ตามวงกบบานหน้าต่าง และประตูกับกำแพงระหว่างผนังกับฐานราก ระหว่างกำแพง
กับหลังคา รอยต่อระหว่างผนัง หรือช่องเจาะเตรียมไว้ที่พื้นผนังหรือหลังคาสำหรับการเดินท่อต่างๆ ต้องอุด
ให้สนิทด้วยซีเมนต์และซิลิโคน (Silicone)
-ห้างสรรพสินค้าควรใช้บานประตู 2 ชั้น (Vestibule) สำหรับทางเข้าที่มีการสัญจรของผู้คนมาก
-ประตูชั้นดาดฟ้า เช่น ประตูห้องเครื่องลิฟท์หรือประตูที่เปิดสู่นอกอาคารต้องปิดให้สนิทอยู่เสมอ
-ควรมีผนังกันช่องบันไดที่เดินทางผ่านระหว่างชั้นออกจากบริเวณที่มีการปรับอากาศในแต่ละชั้น
6. การลดอัตราการระบายอากาศ
อาคารที่มีการปรับอากาศทุกหลังคาต้องนำอากาศบริสุทธิ์ภายนอกส่วนหนึ่งเข้ามาเพื่อระบายกลิ่น
ตัวคน สารเคมีที่เกิดจากสิ่งตกแต่งอาคารและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ โดยเหตุที่อากาศภายนอกที่เข้ามา
นี้ทั้งร้อนและชื้น หากนำอากาศภายนอกเข้ามามากจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้นและสิ้นเปลือง
พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น
-ควรจัดให้มีห้องสูบบุหรี่แยกต่างหากจากห้องทำงาน
-ติดตั้งแผ่นกรองอากาศซึ่งทำจากผงถ่าน หรือใช้
เครื่องฟอกอากาศเพื่อลดกลิ่น
-ติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างอากาศเสียที่เย็นภายในอาคารซึ่งต้องการดูดทิ้งไปกับอากาศ
ร้อนที่บริสุทธิ์ซึ่งจะนำเข้ามาในอาคาร
-ในช่วงเวลาที่มีคนอยู่น้อยภายในอาคาร เช่น ในตอนเช้าก่อนเริ่มทำงานประมาณ 1 ชั่วโมง ช่วงพัก
เที่ยง ในตอนเย็นก่อนเลิกงานครึ่งชั่วโมง หรือในห้างสรรพสินค้าช่วงที่มีลูกค้าน้อย ควรปิดพัดลมดูด
อากาศบริสุทธิ์เข้ามาในอาคารโดยผ่านการกรองเพื่อลดฝุ่นละออง กลิ่นและมลพิษทางอากาศ
7.การใช้งานเครื่องทำน้ำเย็นอย่างถูกวิธี
เครื่องทำน้ำเย็นเป็นเครื่องจักรกลที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดในระบบปรับอากาศขนาดใหญ่การใช้
งานอย่างถูกต้องจะช่วยประหยัดพลังงานได้เป็นจำนวนมากซึ่งทำได้ 4 วิธี คือ
-ปรับตั้งอุณหภูมิน้ำเย็นที่ออกจากเครื่องทำน้ำเย็นให้สูงขึ้นได้โดยไม่ทำให้เกิดผลเสียแก่อุณหภูมิที่
ต้องการควบคุมภายในอาคารสามารถประหยัดพลังงานของเครื่องทำน้ำเย็นได้ร้อยละ 1.5-2.0 สำหรับทุก ๆ
0.5 0C ของอุณหภูมิน้ำเย็นที่เพิ่มสูงขึ้น
-ลดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นจากคูลลิ่งทาวเวอร์ที่เข้าสู่คอนเดนเซอร์โดยการเดินคูลลิ่งทาวเวอร์ชุดสำรอง
ในขณะที่ความร้อนภายในอาคารเกิดขึ้นสูงสุด สามารถประหยัดพลังงานของเครื่องทำน้ำเย็นได้ร้อยละ
1.5-2.0 สำหรับทุก ๆ 0.5 0C ของอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นที่ลดต่ำลง
-ควบคุมค่าความต้องการไฟฟ้า (Electric Demand) ของเครื่องทำน้ำเย็นมิให้สูงเกินไป
-จัดลำดับการเดินเครื่องทำน้ำเย็น ให้สอดคล้องกับปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร โดยเดิน
เครื่องให้น้อยชุดที่สุด แต่เครื่องทุกชุดทำงาน เต็มที่ใกล้ร้อยละ 100 อยู่เสมอ
8. การติดตั้งและการใช้งานเครื่องปรับอากาศอย่างถูกวิธี
-ติดตั้งชุดคอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยอากาศ(Air Cooled Condenser) และคูลลิ่งทาวเวอร์
(Cooling Tower) ไว้ในที่ร่มหรือที่ถูกแดดน้อยที่สุด
-ขจัดสิ่งกีดขวางทางลมเข้าและออกจากชุดคอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยอากาศและคูลลิ่งทาวเวอร์
-หลีกเลี่ยงการติดตั้งในลักษณะลมร้อนจากชุดคอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยอากาศปะทะกับลม
ธรรมชาติโดยตรง
-ปรับตั้งเทอร์โมสตัส (Termostat) เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในอาคารมิให้ต่ำเกินกว่า 25.5 0C
-เลือกใช้เทอร์โมสตัท (Thermostat)ที่มีคุณภาพดี เช่น แบบอิเล็กทรอนิคส์ มิให้มีการแกว่งของ
อุณหภูมิเกินกว่า 0.5-1 0C
-หมั่นล้างแผ่นกรองอากาศและคอยล์ทำความเย็นให้สะอาดอยู่เสมอ
-หมั่นล้างคอนเดนเซอร์ (Condenser) และคูลลิ่งทาวเวอร์ (Cooling Tower) ให้สะอาดเพื่อให้การ
ระบายความร้อนของตัวเครื่องเป็นไปโดยสะดวกและใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลง
-ปรับแต่งคุณภาพน้ำในคูลลิ่งทาวเวอร์ให้ปราศจากตะกรัน สาหร่ายและตะไคร่น้ำ
-ปรับแต่สายพานพัดลมของคอยล์ทำความเย็น ให้มีความตึงพอเหมาะ ไม่หย่อนเกินไป
-หล่อลื่น แบริ่งของพัดลมคอยล์ทำความเย็นทุกชุดอย่างสม่ำเสมอ
-ซ่อมฉนวนท่อ
-อุดรูรั่วของท่อลมเย็น
การปรับปรุงง่าย ๆ เบื้องต้นเพื่อให้อาคารมีความเย็น
-อย่างให้ผนังกระจกและหน้าต่างถูกแสงอาทิตย์โดยตรง เพราะความร้อนจะผ่านเข้ามาในอาคารเพิ่มขึ้น
-ปรับปรุงทาสีผนังอาคารภายนอกให้เป็นสีขาวหรือสีอ่อน เพื่อช่วยสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์
-ติดตั้งกันสาด แผงครีบ ผ้าใบ หรือปลูกต้นไม้บังแดดให้กับตัวอาคาร
-ปรับปรุงหลังคาโดยบุฉนวนเพดาน หรือติดแผ่นฟิล์มอะลูมินั่มสะท้อนรังสีความร้อนไม่ให้เข้าตัวอาคาร
หรือทำเครื่องบังแดดให้หลังคาไม่ถูกแสงอาทิตย์กระทบโดยตรง
-ปรับปรุงประตูทางเข้าของอาคารที่มีผู้คนเดินทางออกบ่อย ๆ เพื่อให้อากาศเย็นไหลออกน้อยที่สุด
เช่นประตูทางเข้า ห้างสรรพสินค้า ประตูทางเข้าอาคารสำนักงาน
-หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ เช่นแผ่นกรองอากาศ และคอยล์ทำความเย็น
หอผึ่งเย็น (Cooling Tower) เพื่อให้ระบายความร้อนได้ดีและลดการใช้ไฟฟ้า
-หลีกเลี่ยงการจัดวางหรือติดตั้งอุปกรณ์ที่มีการระบายความร้อนไว้ในบริเวณห้องที่มีการปรับอากาศ
เช่นไม่ตั้งเครื่องถ่ายเอกสารในห้องปรับอากาศ
หากอาคารนั้นได้รับการออกแบบตั้งแต่ต้นโดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนนำความร้อนเข้าใน
อาคารและเลือกใช้วัสดุกันความร้อนได้ดีให้กับอาคารหรือปรับปรุงอาคารที่มีอยู่แล้วโดยวิธีง่าย ๆ เบื้องต้น
ก็จะป้องกันความร้อนให้เข้าสู่อาคารได้น้อยที่สุด ทำให้อาคารมีการใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำความเย็น
ให้กับอาคารได้อย่างประหยัด
ที่มา http://www2.dede.go.th/bhrd/old/dataenergy/datadoc.html