ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตรจึงทำให้ได้รับแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่องและคงที่ตลอดทั้งปี ความเข้มของแสงโดยเฉลี่ยของการแผ่รังสีในแต่ละวันในประเทศไทยมีประมาณ 5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับการพัฒนา
ซูม
พระสงฆ์ต้อนรับกรีนพีซในการส่งมอบเซลล์แสงอาทิตย์ หมู่บ้านในอำเภอบ้านกรูดเป็นสถานที่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ แต่วันนี้ชุมชนบ้านกรูดได้รับแหล่งพลังงานจากกรีนพีซที่พวกเขาต้องการอย่างแท้จริง นั่นคือ พลังงานแสงอาทิตย์หมุนเวียนที่สะอาด
ในปัจจุบันจำนวนเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในประเทศไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 3.73 เมกะวัตต์ รัฐบาลไทยได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ให้ได้ถึง 17-20 เมกะวัตต์ ภายในพ.ศ. 2553 นอกจากนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าโครงการเซลล์แสงอาทิตย์ต่างๆ ที่มีอยู่อาจนำไปสู่การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศได้มากถึงร้อยละ 5-10 ของพลังงานทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศ ในระยะเวลาอีก 10-20 ปีข้างหน้า
จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับแหล่งพลังงานทางเลือกในอนาคตที่อยากให้นำมาใช้มากที่สุด โดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2540 พบว่า พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่คนไทยต้องการนำมาใช้ในอนาคตมากที่สุด เหตุผลที่สำคัญคือ พลังงานแสงอาทิตย์ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและมีอยู่ในทุกพื้นที่
อุปสรรคที่สำคัญของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ คือ ต้นทุนที่สูงเมื่อเทียบกับการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์มีราคาถึง 10 บาทต่อหน่วย ในขณะที่พลังงานที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิลมีราคาถูกกว่าถึง 5 เท่าตัว เหตุที่เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มีราคาแพง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีนำเข้าจากต่างประเทศ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้จึงมีราคาสูง จึงทำให้มีผู้สนใจไม่มากเท่าที่ควร
อย่างไรก็ตาม หากเราพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศจนสามารถผลิตอุปกรณ์ต่างๆได้เองโดยไม่ต้องอาศัยการนำเข้า ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ในอนาคตจะมีราคาถูกลงมาก เมื่อตลาดมีความต้องการพลังงานประเภทนี้เพิ่มขึ้นก็จะทำให้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่นอกระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ
ที่มา http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/solutions/solar/thailand/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น