ค้นหา

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ศักยภาพพลังงานขยะ

การผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากหลุมขยะ   
   เนื่องจากชุมชนที่อยู่ในบริเวณใกล้ๆกับแหล่งกำจัดขยะ ประสบปัญหาอย่างมากจากแมลงวันที่รบกวน
และก่อความรำคาญ ปัญหากลิ่นขยะและการปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำ เทคนิคในการกำจัดมูลฝอยกลบขยะแบบปิดอย่างถูกสุขลักษณะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว แต่ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับก๊าซที่เกิดจากขยะ ซึ่งถ้ามีปริมาณมากอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ในต่างประเทศได้กำจัดก๊าซนี้โดยการนำมาใช้เป็นพลังงาน เนื่องจากมีอินทรีย์สารประมาณ  60-80% ซึ่งสามารถนำมาหมัก  เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพได้อย่างมหาศาล สำหรับการใช้ประโยชน์จากหลุมขยะ ในประเทศไทย ยังไม่มีการศึกษาในรายละเอียดอย่างจริงจัง กองทุนฯ จึงได้ให้การสนับสนุน    ศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์ ทำการทดลองใช้ก๊าซจากหลุมขยะของกรุงเทพมหานคร ที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีปริมาณขยะทั้งหมดรวม 8 ล้านตัน สามารถให้ก๊าซชีวภาพได้ 130,000 ลบ.ม./วัน ให้ค่าความร้อนเทียบเท่าน้ำมันดีเซล 65,000 ลิตร ก๊าซที่ได้จะนำมาเป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 435 kW จำนวน 2 ชุด เพื่อเป็นแหล่งไฟฟ้าเสริมในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คาดว่าโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะสามารถรับภาระการใช้ไฟปกติของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้    30-40% หลังจากใช้งานครบ 15 ปี คาดว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 85.5 ล้านหน่วย    ลดปัญหาการปล่อยก๊าซมีเทนประมาณ 399 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนั้นยังช่วยลดการแพร่กระจายในทางราบของก๊าซและของไหลจากกองขยะ  ภายในชั้นดินกลบด้วยอย่างไรก็ตาม    โครงการนี้ยังไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา  เนื่องจากปริมาณและคุณภาพก๊าซที่ได้จากหลุมขยะฯ    มีปริมาณและคุณภาพไม่เพียงพอ ที่จะเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อให้โครงการฯ  สามารถดำเนินการต่อไปจนบรรลุเป้าหมาย กองทุนฯ จึงได้ให้การสนับสนุนเพิ่มเติมในการศึกษาวิจัยแนวทางปรับปรุงปริมาณและคุณภาพก๊าซตามคำแนะนำจากUSEPA โดยการใช้วัสดุคลุมผิวหน้าดิน (Bentomat) ปูที่หลุมฝังกลบเดิม จำนวน 3 หลุม  เพื่อป้องกันไม่ให้ออกซิเจนซึมผ่านผิวดินลงไปผสมกับก๊าซชีวภาพในหลุม และจำทำให้เปอร์เซ็นต์ของก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้นและจะรวบรวมก๊าซในพื้นที่หลุมขยะใหม่ที่มีศักยภาพสูงกว่าเดิม ซึ่งจะลดปัญหาของระดับน้ำในขยะและความใหม่ของขยะจะช่วยทำให้ปริมาณก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นอยู่ในอัตราที่สูงกว่าด้วย

มาจาก : หนังสือสรุปผลการดำเนินงาน  แผนงานภาคความร่วมมือ ในช่วงปี 2538-2542 
ภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน    กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 


องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอัตราการเกิดขยะมูลฝอย (กก./คน/วัน)
เทศบาลนคร1.89
เทศบาลเมือง1.15
เทศบาลตำบล1.02
องค์การบริหารส่วนตำบล0.91
เมืองพัทยา3.9

ที่มา: สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ (2554)

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม  http://mswenergy.dede.go.th/wastemap/

ไม่มีความคิดเห็น: