ในกรณีของเซลล์แสงอาทิตย์นั้น ขวนการการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นโดยตรงในสารกึ่งตัวนำ โดยเมื่อแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงานกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกันพลังงานจากแสงจะทำให้เกิดประจุบวกและลบขึ้นในสารกึ่งตัวนำถ้านำประจุนี้ไปใช้งานให้ได้ ก็จะเป็นกระแสไฟฟ้านั่นเอง(ถ้าไม่มีโครงสร้างการนำประจุไปใช้งาน ประจุบวกและลบจะรวมตัวกันหายไปในเวลาช่วงชีวิตของมันซึ่งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติต่างๆของสารกึ่งตัวนำนั้นๆ ) ถ้าหากเรานำเอาสารกึ่งตัวนำประเภท n และ p มาต่อติดกันเป็น junction ฟิสิกส์ที่จะเกิดขึ้นในกรณีเช่นนี้ โดยสรุปจะบอกได้ว่า สารกึ่งตัวนำประเภท n จะดึงประจุลบ ส่วนประเภท p จะดึงประจุบวก เมื่อแสงกระทบเซลล์ และเกิดประจุบวกและลบ ประจุลบ (บวก) จะวิ่งไปสู่ฝั่ง ประเภท n (p) ทำให้เกิดการสะสมของประจุที่ขั้วทั้งสองขึ้น นั่นก็คือเกิดสภาพเหมือนถ่านไฟฉายเพราะฉะนั้นหากต่อทั้งสองขั้วก็จะมีกระแสไหลและเอาพลังงาน(ไฟฟ้า)ออกมาใช้ได้และตราบใดที่มีแสงกระทบก็จะมีไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้านี้จะเห็นว่าเป็นกระแสตรงแต่ในการใช้งานจริงเราสามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเปลี่ยนกระแสตรงเป็นกระแสสลับเพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในชีวิตประจำวันได้ด้วย
หมายถึงพลังงานที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติและสามารถมีทดแทนได้อย่างไม่จำกัด (เมื่อเทียบกับพลังงานหลักในปัจจุบัน เช่น น้ำมันหรือถ่านหินซึ่งมีเฉพาะที่ และรวมถึงต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในการสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมันใหม่ๆ) ตัวอย่าง พลังงานทดแทนที่สำคัญเช่นแสงอาทิตย์ ลม คลื่นทะเล กระแสน้ำ ความร้อนจากใต้ผิวโลก หลังงานจากกระบวกการชีวภาพเช่นบ่อก๊าซชีวภาพ
ค้นหา
วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ภาพจำลองการเกิดกระแสไฟฟ้าในเซลล์แสงอาทิตย์
ในกรณีของเซลล์แสงอาทิตย์นั้น ขวนการการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นโดยตรงในสารกึ่งตัวนำ โดยเมื่อแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงานกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกันพลังงานจากแสงจะทำให้เกิดประจุบวกและลบขึ้นในสารกึ่งตัวนำถ้านำประจุนี้ไปใช้งานให้ได้ ก็จะเป็นกระแสไฟฟ้านั่นเอง(ถ้าไม่มีโครงสร้างการนำประจุไปใช้งาน ประจุบวกและลบจะรวมตัวกันหายไปในเวลาช่วงชีวิตของมันซึ่งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติต่างๆของสารกึ่งตัวนำนั้นๆ ) ถ้าหากเรานำเอาสารกึ่งตัวนำประเภท n และ p มาต่อติดกันเป็น junction ฟิสิกส์ที่จะเกิดขึ้นในกรณีเช่นนี้ โดยสรุปจะบอกได้ว่า สารกึ่งตัวนำประเภท n จะดึงประจุลบ ส่วนประเภท p จะดึงประจุบวก เมื่อแสงกระทบเซลล์ และเกิดประจุบวกและลบ ประจุลบ (บวก) จะวิ่งไปสู่ฝั่ง ประเภท n (p) ทำให้เกิดการสะสมของประจุที่ขั้วทั้งสองขึ้น นั่นก็คือเกิดสภาพเหมือนถ่านไฟฉายเพราะฉะนั้นหากต่อทั้งสองขั้วก็จะมีกระแสไหลและเอาพลังงาน(ไฟฟ้า)ออกมาใช้ได้และตราบใดที่มีแสงกระทบก็จะมีไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้านี้จะเห็นว่าเป็นกระแสตรงแต่ในการใช้งานจริงเราสามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเปลี่ยนกระแสตรงเป็นกระแสสลับเพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในชีวิตประจำวันได้ด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น