การออกแบบจะขึ้นอยู่กับการใช้งานโดยหลักๆแล้วเราจะเอาเซลล์วางเรียงบนเฟรมซึ่งจะเป็นตัวโครงของโมดูลและป้องกันเซลล์จากการเสียหายจากภายนอก โดยจะต่อเซลล์เหล่านี้ด้วยกันทางไฟฟ้าโดยใช้แผ่นตัวนำไฟฟ้าบางๆและหลังจากนั้นจะประกอบตัวเฟรมโดยใช้วัสดุต่างๆดังตัวอย่างในรูปสรุปก็คือต้องแข็งแรงพอสำหรับการใช้งานด้านหน้าโปร่งใสให้แสงกระทบได้และมีขั้วไฟฟ้าออกมาสำหรับต่อวงจรใช้งาน
โมดูลที่แพร่หลายในปัจจุบัน เรียกว่า แบบ super strate
การประกอบเซลล์เป็นโมดูล
แสดงขั้นตอนการสร้างด้านที่รับแสงจะใช้วัสดุโปร่งใสเช่นแผ่นแก้วซึ่งจะเป็นตัวโครงสร้างทางกลของโมดูลด้วย เมื่อจัดวางเซลล์ทางไฟฟ้าแล้ว ก็จะอัดที่ว่างด้วยวัสดุเติมเต็มโปร่งใส เช่น PVB(polyvinylbutylol ) หรือ EVA ( ethylene vinyl acetate ) จากนั้นก็จะปิดด้านหลังและหุ้มโมดูลทั้งหมดด้วยเฟรมอะลูมิเนียม ประสิทธิภาพของโมดูลที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบัน ที่มีขนาดประมาณ 40 cm x 120 cm คือ เซลล์แสง อาทิตย์แบบซิลิคอนผลึกเดี่ยว 10-14% แบบโพลีซิลิคอน 8-12% และแบบอะมอร์ฟัสซิลิคอน 6-9%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น