ค้นหา

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ไขปัญหา ' แก๊สโซฮอล์ '

- เอ็มเทคทำการวิจัยร่วมกับปตท.ในการนำเอทานอลผสมน้ำมันเบนซิน และดีเซลว่าเมื่อนำไปใช้กับรถยนต์ รถขนส่งใช้งานอย่างไร และจะมีปัญหาอะไรกับเครื่องยนต์หรือไม่อย่างไร
มีปตท.กับบางจาก นำออกจำหน่าย เป็นน้ำมัน เบนซินผสมแก๊สโซฮอล์ 10% มีออกเทน 91 จำนวน 90% และผสม เอทานอล 10% จะได้เบนซินออกเทน 95 ออกจำหน่ายในราคาต่ำกว่า เบนซินทั่วไป 50 สตางค์ เบนซินผสมเอทานอลนี้ ปตท. มีการดำเนิน การวิจัยมานานแล้วกับโครงการส่วนพระองค์ และพบว่าการเติมเอทานอล 10% จะไม่เกิดผลกระทบ ต่อเครื่องยนต์ โดยปตท. ได้จัดทำรายงานการพัฒนาการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงผสมแอลกอฮอล์ ในเดือน พฤษภาคม 2543 เพื่อทูลเกล้าถวาย พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ที่สำนักพระราชวัง ในการทดลองกับรถยนต์ ใช้เบนซินที่ไม่ผสมเอทานอล รถยนต์ที่ใช้ เบนซินผสมเอทานอล 7.5% และรถยนต์ที่ใช้เบนซินผสมเอทานอล 15% กับรถยนต์ทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ วอลโว่ โตโยต้า มิตซูบิชิ ฮอนด้า นิสสัน โตโยต้าโคโรลา เป็นรถตั้งแต่ปี คศ. 1993-1996 ถือเป็นรถยนต์ใช้แล้ว ได้ทดลองวิ่งพบว่าเครื่องยนต์ใช้งานได้ดี มลภาวะลดลง มีการสิ้นเปลืองน้ำมันเล็กน้อย และด้วยราคาที่ถูกกว่าจึงน่าจะมีการนำมาใช้กับรถยนต์ทั่วไป
- หากใช้น้ำมันเบนซินธรรมดาอยู่จะเปลี่ยนไปเติมน้ำมันผสมเอทานอลได้เลยหรือไม่
สามารถเติมได้ทันที เนื่องจากเดิมเราใช้รถที่เติมน้ำมันที่มีสารตะกั่ว ต่อมาพบว่าสารตะกั่วเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงหันมาใช้ MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) แทน ซึ่งต่อมาในสหรัฐฯพบว่า MTBE เป็นสารก่อมะเร็ง ถ้ารั่วไหลลงน้ำ จะเป็นอันตราย ต่อสิ่งแวดล้อม จึงเปลี่ยนมาเป็น เอทานอลที่เรียกว่า ETBE ETBE (Ethyl Tertiary Butyl Ether) ประมาณ 7-10% ดังนั้น เมื่อเรา ใช้เอทานอลก็สามารถเติมได้เลย เหมือนเราเปลี่ยนจากสารตะกั่วเป็น MTBE ก็สามารถเติมได้เลย โดยไม่ต้อง ถ่ายน้ำมันออก และไม่จำเป็นต้องมีการปรับแต่งเครื่องยนต์หากเติมเอทานอลไม่เกิน 10%
- ข้อดีของการใช้เอทานอลมีอย่างไรบ้าง
เมื่อเติมแล้วมีข้อดีคือ มลภาวะลดลง ไฮโดรคาร์บอนทั้งหลายลดลง ถ้าเติมเอทานอล 7.5 % จะลดลงประมาณ 3.5-8.5% ถ้ามีเอทานอล 15% จะลดลง 0.2-6.2% ปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ ในไอเสียจะลดลง 23.2-26.9% ปริมาณแก๊สนอกซ์ เพิ่มขึ้น 10.7-15.2% ปริมาณอะแซทเทิลดีไฮด์เพิ่มขึ้น 90.7และ231% ตัวนี้เพิ่มขึ้นมาก แต่การสัมมนา มีข้อเสนอแนะว่า ตัวอะแซทเทิลดีไฮด์นี้ เป็นสารก่อมะเร็ง แต่ปริมาณที่เพิ่มขึ้น เพิ่มจากปริมาณคิดเป็นมิลลิกรัมต่อกิโลเมตร ซึ่งน้อยมาก และในต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ หรือญี่ปุ่น ก็ไม่มีการกำหนดเกี่ยวกับสารตัวนี้เอาไว้ ดังนั้น ในภาพรวม สารที่เกี่ยวข้องกับ การเกิดก๊าซเรือนกระจก และทำให้ อากาศร้อนจะลดน้อยลงไป และทำให้คุณภาพอากาศในเมืองใหญ่ ๆ ดีขึ้น
- แหล่งผลิตเอทานอลมีอยู่ที่ไหนบ้าง
เอทานอลขณะนี้มีแหล่งผลิต 2 แห่งคือที่โครงการส่วนพระองค์ผลิตได้ 860 ลิตรต่อวัน และที่ โรงงานต้นแบบของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วท.)เดิมผลิตได้ 1,500 ลิตรต่อวัน แต่หลังจากไม่ได้ใช้นาน และ มาเริ่มใช้ใหม่ในปีที่ผ่านมาจึงผลิตได้เพียง 300-500 ลิตรต่อวัน เมื่อนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินก็จะได้เป็นน้ำมันจำนวน 3,000-5,000 ลิตรต่อวัน เติมได้ 60-100 คันก็หมดแล้ว
- สถานีเติมแก๊สโซฮอล์ อยู่ที่จุดไหนบ้าง
สถานีเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ของปตท.มีอยู่ 2 แห่ง คือที่สำนักงานใหญ่ของ ปตท. และสนามเป้า สถานีเติมน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ ของบางจากมีอยู่ที่ สาขาอุดมสุข, แยกแคลาย, ติวานนท์, แจ้งวัฒนะ ซึ่งทั้งหมดมีปริมาณไม่มากเท่าไหร่ กำลังการผลิตขณะนี้ ยังไม่พอใช้ ทางปตท.เองก็กำลังร่วมมือกับบริษัทสุรามหาราษฎร์ และกลุ่มผู้ผลิตสุราต่าง ๆ ซึ่งมี กำลังการผลิตสูง เพื่อหาทาง เพิ่ม ปริมาณการผลิตให้มากขึ้น
เนื่องจากว่า เอทานอลก็คือเอทิลแอกอฮอล์ หรือเหล้า เมื่อผลิตออกมาจะมีความเข้มข้น 95.5% หากเราสามารถ ติดตั้งหน่วยที่เป็นตัวสกัดน้ำ ที่เราเรียกว่าเป็นดีไฮเดรชั่นยูนิต ในตอนท้ายของกระบวนการ ก็จะได้เป็น เอทานอล ประมาณวันละ 10,000 ลิตร เมื่อมาผสมก็จะได้น้ำมันผสมเอทานอล 100,000 ลิตร ซึ่งน่าจะขยายกำลังการผลิตเป็น 1 ล้านลิตร สามารถเติมน้ำมันเบนซินได้เป็น 10 ล้านลิตร ขณะนี้เราใช้เบนซิน 20 ล้านลิตรต่อวันจะเป็น 91 จำนวน 10 ล้านลิตร เบนซิน 95 จำนวน 10 ล้านลิตร หากเราเติมเอทานอลลงในเบนซิน 91 จำนวน 10 ล้านลิตรก็จะได้เป็นเบนซิน 95 จำนวน 10 ล้านลิตร ซึ่งจะเพียงพอกับการใช้งานของคนในกรุงเทพและในจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ
- ตัวอย่างการใช้เอทานอลในต่างประเทศ
ที่บราซิลใช้เอทานอลมา 25 ปี แล้ว เนื่องจากราคาน้ำตาลตกต่ำ จึงหาทางพัฒนาการผลิตน้ำตาลเป็นเอทานอล จนขณะนี้ บราซิลใช้น้ำมันเบนซินผสมเอทานอลผสมถึง 23-24%ทั่วประเทศ ไม่ใช่น้ำมันอื่นเลย
ที่สวีเดนไม่ผลิตเอง แต่สั่งเอทานอลจากต่างประเทศ ใช้น้ำมันเอทานอลกับรถประจำทางขนาดใหญ่ (Blue Bus) มีสถานี เติมน้ำมันชนิด Flexible (เพิ่มลดส่วนผสมเอทานอลในเบนซินได้) 50 แห่ง มีจำนวนรถยนต์ทั่วไป ที่ใช้เอทานอลอยู่ ทั้งหมด 400 คัน หากดูที่การจำหน่ายเฉลี่ยสถานีละ 8 คัน ซึ่งไม่คุ้มทุน แต่สวีเดนจำเป็นต้องลงทุน วางระบบไว้ เพื่อให้เกิด ความสะดวก แก่ผู้ใช้รถยนต์รุ่นต่อไป ซึ่งจะเปลี่ยนไปใช้เซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่แทบจะไม่เกิดมลพิษเลย
หันมาดูบ้านเราเอง รัฐบาลควรจะต้องพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้เพื่อรองรับ และสนับสนุน ให้เกิดการใช้ น้ำมันเอทานอลในประเทศหรือเชื้อเพลิงอื่น ๆ ทดแทนน้ำมันปิโตรเลียมต่อไป
ปัจจุบันคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน มีหน่วยงานร่วมอื่น ๆ เช่น กระทรวง เกษตรฯ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ สวทช. กรมควบคุมมลพิษ สถาบันยานยนต์ มีการแบ่งกลุ่มผู้ผลิต ผู้ใช้และ ผู้จัดจำหน่าย ได้เตรียมแผนปฎิบัติการเอาไว้แล้วว่าฝ่ายต่าง ๆ จะดำเนินการอย่างไร เช่น กระทรวงเกษตรฯ จะพิจารณา เรื่องวัตถุดิบทางการเกษตร ว่าควรจะมีปริมาณการผลิตเท่าไหร่จึงเหมาะสมกับปริมาณการใช้เอทานอล หลังจากนั้นผู้จัดจำหน่าย ก็จะดูในรื่องการวางแผนจัดจำหน่ายว่าจะเป็นอย่างไร สถาบันยานยนต์ก็จะพิจารณาว่า รถยนต์ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จะใช้น้ำมัน ผสมเอทานอลได้หรือไม่ ตลอดจนควรจะมีการ นำรถยนต์ที่ใช้เอทานอล เข้ามา จำหน่ายในประเทศไทยได้เมื่อไหร่ ซึ่งขณะนี้ แผนปฏิบัติการต่าง ๆ ก็พร้อมแล้วรอที่จะนำไปใช้ เชื่อว่าภายใน 2 ปีจะมีการใช้เอทานอลมากขึ้น และจำนวน สถานีเติมน้ำมันเอทานอลก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย
- ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างวิจัยดีโซฮอล์
จะมีการพิจารณาใน 3 ด้านคือด้านไอเสียคาดว่าจะใช้เวลา 3 เดือน ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ใช้เวลา 6 เดือน และด้านผลกระทบของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ต่าง ๆ ประมาณ 8-12 เดือน นอกจากนี้ จะมีการพิจารณาเรื่องการประเมินวงจรอายุ หรือ Life Cycle Accessment (LCA) ด้วย ซึ่งเป็นการประเมินผลกระทบของการใช้เอทานอลต่อสภาพแวดล้อม นับตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบจนถึงหลังจากการใช้งานแล้ว
ที่ผ่านมามีการทดลองใช้ดีโซฮอล์กับรถบรรทุก 6 คันของ รสพ. ตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค. 43 ผลที่เกิดขึ้น เหมือนกับ การใช้กับน้ำมันเบนซิน ไม่มีผลกับกำลังบรรทุกแต่อย่างใด แต่ไอเสียลดลง การทดลองที่ดำเนินการกับ ปตท. จะมีการวัด อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงมากขึ้น
- อัตราภาษี
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใช้อยู่ขณะนี้ แบ่งเป็นภาษีสุราขาวลิตรละ 100 บาท สุราสีลิตรละ 150 บาท แต่ถ้า ผลิต เอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงจะคิดอัตราภาษีลิตรละ 5 สตางค์เท่านั้น ซึ่งทุกวันนี้กลุ่มบริษัทสุราต่างๆ มีการส่งออก สุรา ไปต่างประเทศอยู่แล้ว หากผันปริมาณการผลิตเป็นเชื้อเพลิงก็จะมีปริมาณเพียงพอใช้ในประเทศ หรือหากเราไม่ผลิตเอง ก็อาจนำเข้าได้ แต่ราคาสูงกว่าผลิตเองแน่นอน
- กรรมวิธีการผลิตเอทานอล
การนำพืชผลการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ข้าวโพดมาใช้เป็นวัตถุดิบได้ทั้งนั้น ซึ่งขณะนี้ ราคามันสำปะหลัง ตกต่ำ หากเราสามารถนำวัตถุดิบการเกษตรนี้มาใช้ก็จะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้มาก
วัตถุดิบ
กากน้ำตาลจะผลิตเป็นเอทานอลได้โดยตรง ข้าวหรือมันสำปะหลังจะต้องมาเปลี่ยนเป็นแป้ง จากแป้ง เปลี่ยนเป็นน้ำตาลอีกครั้งหนึ่ง
วิธีทำเอทานอล
เอากากน้ำตาลมาหมัก ได้เป็นแอลกอฮอล์ แล้วนำมาแยกน้ำโดยใช้ซีโอไลท์ กรองเอาน้ำออก ได้เป็น เอทานอล 99.5%
ข้อมูลอ้างอิงhttp://www.mtec.or.th

ไม่มีความคิดเห็น: