ค้นหา

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บ้านดินจากธรรมชาติ

เป็นมิตรกับธรรมชาติ
บ้านดินถูกสร้างขึ้นมาโดยการเปลี่ยนรูปจากดินให้เป็นบ้านเท่านั้น เมื่อเราสร้างขึ้น เราสามารถรื้อ ดินจะเปลี่ยนสภาพจากบ้านกลับเป็นดินดังสภาพเดิม มีคนเคยกล่าวไว้ว่า "เมื่อรื้อบ้านดินเสร็จแล้วสามารถปลูกผักได้ทันที"ซึ่งตรงกันข้ามกับบ้านปูนที่ต้องเสียเวลาในการจัดการขยะปูนกองโต บ้านดินจึงเป็นบ้านที่เป็นมิตรกับธรรมชาติอย่างแท้จริง
บ้านดินบ้านมีชีวิต
บ้านดิน มีอุณภูมิภายใน 24-26 องศาเซ็นเซียลตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นอุณภูมิที่มนุษย์สามารถอยู่ได้อย่างสบายไม่ต้องติดแอร์ อีกทั้งฝาฝนังบ้านดินยังสามารถดูดซึมความชื้นได้ดี ดังนั้นบ้านดินจึงช่วยปรับความชื้นภายในได้เป็นอย่างดี บ้านดินคือบ้านที่มีชีวิต สามารถหายใจได้
บ้านดินคือบ้านที่ให้ชีวิต
ในประเทศเกาหลี เชื่อว่าธาตุที่อยู่ในตัวเราประกอบไปด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ สมัยนี้คนเราแทบจะไม่ได้สัมผัสกับดิน จึงทำให้ขาดสมดุลภายในร่างกาย การได้สัมผัสกับดิน จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น คนเกาหลียังเชื่อว่า ถ้าคนเราอยู่ในบ้านที่สร้างด้วยธาตุในดินจะระเหยแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งอาจจะจริงตามที่ได้พบเห็น เดี๋ยวนี้มีคนป่วยเข้าโรงพยาบาลกันเป็นจำนวนมาก อาจจะเกิดจากสาเหตุที่ไม่ได้สัมผัสกับดิน บางคนยังกล่าวว่า บ้านปูนดูดพลัง ส่วนดินนั้นให้พลังกับชีวิต
บ้านดิน" สร้างเองก็ได้ง่ายจัง ไม่ต้องจ้างผู้รับเหมา ประหยัดเงินตรา และ ทรัพยากรธรรมชาติ (ไม่ต้องระเบิดภูเขา เอาปูนซิเมนต์ หรือ ทำลายป่า ตัดต้นไม้เยอะ ๆ ) ฤดูร้อนเย็นสบาย ฤดูหนาวแสนอบอุ่น (บ้านดินสามารถปรับอากาศในตัวเองได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องซื้อเครื่องปรับอากาศมาติดให้เปลืองค่าไฟฟ้า) หากบริเวณบ้านของท่านมีพื้นที่ว่าง ๆ ขอเชิญท่านมาลองสร้างบ้านดินหลังเล็ก ๆ สักหลังหนึ่ง ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1. ทดสอบเนื้อดิน นำดินใส่ในแก้วสามในสี่ส่วน เติมน้ำให้ท่วมดิน ใส่เกลือ 1 ช้อนชาคนแล้วคอยให้ตกตะกอน เพื่อสังเกตดูชั้นต่าง ๆ ของเนื้อดิน แบ่งสัดส่วนของแก้วออกเป็น 10 ส่วน สิ่งที่หนักจะตกตะกอนก่อน จะได้ กรวดหิน - -> ทราย หยาบ - - > ทรายละเอียด - - > ดินเหนียว หากชั้นดินเหนียวได้สัดส่วน 2 ในส่วน 10 ส่วน ถือว่าดินนั้นสามารถนำมาสร้างบ้านได้ จากนั้นเติมน้ำลงในดินนวดให้เหนียว ลองปั้นเป็นเส้นกลม ๆ ขนาดนิ้วมือถ้าขาดแสดงว่าดินนั้นยังใช้ไม่ได้(ดินเหนียวเหมาะสำหรับการสร้างบ้านดินที่สุด ซึ่งสามารถหาได้ทั่วไปในประเทศไทย)
2. หาสถานที่สำหรับเตรียมอิฐดิน ควรจะเลือกทำในบริเวณใกล้ ๆ กับพื้นที่ที่ต้องการสร้างบ้าน เพราะจะลดกำลังในการขนย้ายซึ่งควรจะเป็นพื้นที่ที่พ้นจากน้ำท่วมถึง
3. การทำอิฐดินเตรียมกระบะสำหรับผสมดินเหยียบนวดดินให้เหนียวหากดินเหนียวมากๆ ควรจะแช่น้ำทิ้งไว้หนึ่งคืนจะทำให้นวดง่ายขึ้น หากดินเหนียวมาก ๆ ให้ผสมแกลบหรือฟาง (หรือวัสดุใกล้เคียงที่หาได้ในพื้นที่) และทราย ในอัตราทีสังเกตว่าดินที่เหยียบจะไม่ติดเท้าขึ้นมาและเห็นเป็นรอยเท้าบนเนื้อดินถือว่าดินได้ที่แล้ว จากนั้นนำมาเทใส่พิมพ์ไม้ปาดให้เรียบและยกพิมพ์ขึ้นดินจะไม่ติดพิมพ์ในกรณีที่แดดดี ตากทิ้งไว้ 1 วัน จากนั้นพลิกอิฐดินตั้งขึ้น จะทำให้ดินไม่ติดพื้นและแห้งเร็วขึ้น ตากทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่ออิฐดินแห้งแล้วจะมีคุณสมบัติเหมือนกับอิฐมอญที่ไว้ใช้ก่อสร้างบ้านทั่วไป ซึ่งขนาดดินที่เหมาะสมคือ หนา 4 นิ้ว กว้าง 8-10 นิ้ว ยาว 14 -16 นิ้ว (อิฐดิน 1 ก้อน = 15-20 กิโลกรัม)
4. เตรียมปูนสำหรับโบกอิฐดิน ซึ่งเป็นตัวดินชนิดเดียวกับที่นำมาทำอิฐดิน
5. หลังจากเลือกทำเลหนีน้ำแล้ว ต้องเทพื้นบ้านดินให้สูงพอสมควร หรืออาจสร้างเป็นบันไดสูงขั้นสองขั้น เพื่อหนีความชื้นที่ระเหยมาจากพื้นดิน และป้องกันปลวกใต้ดิน ( อย่างไรก็ดีปลวกไม่กินดิน) ซึ่งการเทฐานบ้านอาจใช้ปูนซิเมนต์เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
6. บ้านดินไม่ต้องใช้เสาในการก่อสร้าง เพราะอิฐดินแต่ละก้อนถือว่าเป็นกำแพงของบ้านและเสาที่มั่นคงแข็งแรง หลังจากเทพื้นแล้ว เริ่มก่อสร้างกำแพงชั้นล่างขึ้นเป็นตัวบ้าน เว้นช่องใส่หน้าต่าง ประตู ซึ่งอาจจะมีวงกบไม้หรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
7. กรณีบ้านสองชั้นต้องรอให้กำแพงดินชั้นล่างแข็งแรงดีแล้วนำไม้เนื้อแข็ง เช่น ยูคาลิปตัส ไม้ไผ่ ฯลฯ วางพาด นำไม้กระดานแผ่นใหญ่วางรองรับด้านล่าง เทดินให้ทั่ว ๆ ปกคลุมไม้ที่วางพาดเลย
8. ก่อสร้างหลังคา ชายคา ซึ่งอาจจะใช้ดินหรือวัสดุอื่น ๆ ก็ได้ ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะน้ำเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของบ้านดิน
9. ฉาบกำแพง เพดานให้พื้นเรียบหรือขรุขระตามชอบ
10. การใส่หน้าต่าง ประตู ต้องรอให้ดินแห้งสนิทเสียก่อน เพราะเมื่อดินแห้งจะหดตัวอีก หากใส่กระจกขณะที่ยังไม่แห้ง อาจทำให้กระจกแตกได้
11. ตกแต่งทาสี แนะนำว่าเป็นสีดิน (สีที่ได้จากดิน ซึ่งมีหลายสีด้วยกัน เช่น แดง เหลือง ม่วง เทา แตกต่างกันตามท้องถิ่น) ผสมกับทรายละเอียด เพิ่มความเนียนด้วยกาวแป้งเปียกหรือยางกล้วย (วัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ในพื้นที่)
12. ตกแต่งภายในตามชอบสามารถปูพื้นด้วยกระเบื้องหรือปล่อยพื้นเปลือย ๆ เป็นศิลปะญี่ปุ่นก็สวยงามดี.
ข้อมูล : นิตยสารสานแสงอรุณ ฉบับที่ 34 ก.ค. - ส.ค. 45/

ผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ แทนการใช้ไฟฟ้า

ระบบผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ มีความน่าสนใจและกำลังจะก้าวเข้ามามีส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้น เนื่องจากเป็นการลงทุนครั้งแรกเพียงครั้งเดียว แต่เชื้อเพลิงจะได้เปล่า ซึ่งต่างจากเครื่องทำน้ำร้อนจากไฟฟ้าทั่วไป ซึ่งจะต้องเสียค่าไฟฟ้าตลอดอายุการใช้งาน อีกทั้ง การใช้ระบบผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ ยังเป็นประโยชน์จากพลังงานธรรมชาติ และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วยรู้คุณค่าพลังงาน

1. เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ของการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีศักยภาพ ที่เราสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถใช้อาบน้ำโดยผสมน้ำเย็น เพราะในฤดูหนาวการอาบน้ำอุ่นเป็นการกระตุ้นเซล์ผิวหนัง ชะล้างเหงื่อไคล ผ่อนคลายความตึงเครียดทำให้ร่างกายสดชื่นทำให้ผิวพรรณสดใสยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสุภาพสตรี การล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นก่อนแต่งหน้าช่วยทำให้ใบหน้าเกลี้ยงเกลา ล้างมือด้วยน้ำอุ่นช่วยคลายความกร้านของฝ่ามือทำให้ฝ่ามือนุ่มนวล

2. ใช้น้ำร้อนในการลวกภาชนะหลังการลวกภาชนะด้วยน้ำเย็นหรือการล้างภาชนะด้วยน้ำร้อนจะช่วยขจัดคราบไขมันและสามารถป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้ พร้อมทั้งยังช่วยในการฆ่าเชื้ออีกด้วย

3. ใช้น้ำร้อนในการซักผ้าให้ผ้าขาวและสะอาดยิ่งขึ้น พร้อมทั้งขจัดคราบไขมันที่ติดอยู่ตามเสื้อผ้า โดยไม่ต้องต้มน้ำหรือปิดสวิทซ์เครื่องซักผ้าในการซักผ้าด้วยน้ำร้อน ทำให้ไม่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า หรือสามารถต่อน้ำไว้สำหรับล้างรถเหมือนกับทางยุโรบ หรืออเมริกาก็ได้ เพราะเพราะจะทำให้รถสีสดใสยิ่งขึ้น

4. อีกด้านหนึ่งของชีวิตประจำวัน คือ การหุงต้ม เอาน้ำร้อนมาหุงข้าวหรือตุ๋น จะใช้เวลาที่สั้นลง เป็นการประหยัดพลังงาน ทดแทนการใช้พลังงานความร้อนจากฟืน แก๊ส หรือไฟฟ้าเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ดีอย่างไร

1. เป็นพลังงานความร้อนที่ได้จากธรรมชาติ(จากแสงอาทิตย์) SUN POWER

2. เป็นพลังงานหมุุนเวียน RENEWWABEL ENERGY ในข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นพลังงานยั่งยืน หรือพลังงานต้อนกำเนิด

ฉนั้น จึงพอสรุปได้ว่า เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์มีข้อดีดังต่อไปนี้ประหยัด SOLASON เป็นเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์เทคโนโลยีชั้นสูง นำมาใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้า , น้ำมัน และแก๊สปลอดภัย SOLASON ปลอดภัยจากไฟดูด แก๊สรั่ว แก๊สระเบิด ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตสะดวก SOLASON ติดตั้งเครื่องเดียวสามารถใช้ได้ทั้งบ้าน และสามารถจะจ่ายไปใช้งานได้ทุกจุดที่ต้องการใช้น้ำร้อน หรือน้ำอุ่น มีตัวควบคุมระดับน้ำอัตโนมัติสร้างคุณภาพ SOLASON เป็นการสร้างภาพใหม่ คุณค่าใหม่ ในฐานะที่ท่านใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงานและทรัพยากร พร้อมยังส่งเสริมคุณค่าแก่อาคารและผู้พบเห็นในทางที่ดีอนุรักษ์ SOLASON ช่วยอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งนับวันจะถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองลงไปทุกนาที และยังเป็นพลังงานที่สะอาด(CLEAN ENERGY)คุณภาพ SOLASON เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน ISO 9002,GS & CE Certifigateข้อดี และ ข้อเสียระหว่าง เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ไฟฟ้า

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไฟฟ้าพลังน้ำ


ไฟฟ้าพลังน้ำ​ ​คือ​ ​พลังงาน​จาก​น้ำ​ ​น้ำ​ที่กำ​ลังไหลเต็มไป​ด้วย​พลังงานธรรมชาติมหาศาล​ ​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​น้ำ​จาก​แม่น้ำ​ที่กำ​ลังไหล​หรือ​คลื่น​ใน​มหาสมุทร​ ​ลองนึก​ถึง​พลังการทำ​ลายเมื่อแม่น้ำ​ทำ​ให้​ชายฝั่งพัง​ ​ก่อ​ให้​เกิดน้ำ​ท่วม​ ​หรือ​คลื่นสูงที่ทำ​ลายชายฝั่งตื้นๆ​ ​คุณก็​จะ​สามารถ​นึกภาพพลังงานมหาศาล​ได้​

พลังงานนี้​สามารถ​ควบคุม​และ​เปลี่ยน​เป็น​ไฟฟ้า​ได้​ ​ไม่​ปล่อยก๊าซเรือนกระจก​ ​และ​ ​เป็น​แหล่งพลังงานหมุนเวียน​ ​เพราะ​น้ำ​เพิ่มขึ้น​ใหม่​ตลอดเวลาผ่านทางวัฏจักรของน้ำ​ใน​โลก​ ​ระบบวัฏจักรของน้ำ​ต้อง​อาศัยแหล่งน้ำ​ไหลที่ถาวร​ ​เช่น​ ​ลำ​ธาร​หรือ​แม่น้ำ​ ​น้ำ​ไม่​เหมือนพลังงานแสงอาทิตย์​และ​พลังงานลมตรงที่​สามารถ​ผลิตพลังงาน​ได้​อย่างต่อ​เนื่อง​ 24 ​ชั่วโมง​

พลังคลื่น​

สภาพลังงานโลกประมาณการว่าพลังคลื่น​สามารถ​ผลิตพลังงาน​ได้​ 2 ​เทราวัตต์ต่อปี​ ​ซึ่ง​มากกว่าการผลิตไฟฟ้า​ใน​ปัจจุบันของโลก​ 2 ​เท่า​ ​และ​เทียบ​เท่า​กับ​พลังงานที่ผลิตขึ้น​จาก​สถานีน้ำ​มัน​ ​ก๊าซ​ ​ถ่านหิน​ ​และ​ ​นิวเคลียร์​ 2,000 ​แห่ง​ ​หาก​สามารถ​ควบคุมพลังงานหมุนเวียน​ทั้ง​หมด​ใน​มหาสมุทรของโลก​ได้​ ​จะ​ตอบสนอง​ความ​ต้อง​การพลังงานโลก​ใน​ปัจจุบัน​ได้​มากกว่า​ 5,000 ​เท่า​ ​แต่จน​ถึง​ปัจจุบัน​ ​การควบคุมพลังงานคลื่น​เป็น​ไป​ได้​ใน​ทางทฤษฎี​เท่า​นั้น​ ​เทคโนโลยีนี้กำ​ลัง​อยู่​ระหว่างการพัฒนา​ ​และ​ยัง​เร็ว​ไปที่​จะ​ประมาณการว่า​ใช้​เวลา​เร็ว​เพียง​ใด​ที่พลังงานคลื่น​จะ​ตอบสนอง​ความ​ต้อง​การพลังงานโลก​ได้​อย่างมาก​

พลังงานแม่น้ำ​

ใน​พ​.​ศ​. 2546 ​ไฟฟ้า​ 16% ​ของโลกผลิตขึ้น​โดย​โรงไฟฟ้าพลังน้ำ​ ​ไฟฟ้าพลังน้ำ​ควบคุมพลังงานของน้ำ​ที่​ไหล​จาก​สูงลงต่ำ​ (เช่นน้ำ​ที่​ไหลต้นน้ำ​ลงไปปลายน้ำ​) ​ยิ่งปริมาณน้ำ​ไหล​จาก​ที่สูงมาก​เท่า​ใด​ ​น้ำ​ยิ่งไหล​เร็ว​ขึ้น​เท่า​นั้น​ ​ทำ​ให้​ยิ่งผลิตไฟฟ้า​ได้​มากขึ้น​เท่า​นั้น​

แต่​โชค​ไม่​ดีที่​เขื่อนพลังน้ำ​ขนาด​ใหญ่​ทำ​ลายระบบนิ​เวศ​ได้​ ​เราควรพิจารณา​ความ​ต้อง​การน้ำ​ของชุมชน​ ​ชาวไร่ชาวนา​ ​และ​ ​ระบบนิ​เวศที่​อยู่​ปลายน้ำ​ ​นอก​จาก​นี้​โครงการพลังน้ำ​อาจเชื่อถือ​ไม่​ได้​ใน​ช่วงแห้งแล้งยาวนาน​และ​ฤดูที่อากาศแห้ง​ซึ่ง​ทำ​ให้​แม่น้ำ​แห้งผาก​หรือ​น้ำ​ลดลง​

อย่างไรก็ตาม​ ​ระบบน้ำ​ขนาด​เล็ก​สามารถ​ผลิตไฟฟ้าปริมาณมาก​โดย​ไม่​ต้อง​พึ่งพา​เขื่อนขนาด​ใหญ่​ ​ระบบน้ำ​ขนาด​เล็ก​ถูกแบ่งประ​เภท​เป็น​ “​เล็ก​” “​เล็ก​พอเหมาะ​” ​หรือ​ “​เล็ก​มาก​” ​ขึ้น​อยู่​กับ​ไฟฟ้าที่ผลิต​ได้​ ​ซึ่ง​สามารถ​ดึงพลังงาน​จาก​แม่น้ำ​โดย​ไม่​เปลี่ยนน้ำ​ไป​จาก​การไหลตามธรรมชาติมากเกินไป​

พลังน้ำ​ขนาด​เล็ก​เป็น​แหล่งพลังงานที่​ไม่​เป็น​อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมที่มีศักยภาพ​ใน​การเติบโตมาก​ ​

ข้อมูลเพิ่มเติม​

สำ​หรับข้อมูลสรุปอย่างละ​เอียดเกี่ยว​กับ​เรื่องเขื่อน​ ​โปรดอ่านรายงานของ​ คณะกรรมการเขื่อนโลก

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

รถพลังงานลม (Air Car) ประหยัดน้ำมันแบบรักษ์โลก


ที่มา : http://www.logisticnews.net/modules.php?NUID=45&m=newsupdate_s&op=detailnewsupdate
‘รถพลังงานลมรุ่นแรกที่ออกสู่ตลาด ของตาต้า ใช้ชื่อว่า ‘CityCAT ‘ตั้งราคาไว้ประมาณ 400,000 บาท โดยตาต้าหวังไว้ว่า จุดเด่นของ CityCAT ที่ไม่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศ และราคาไม่แพง จะทำให้รถพลังลมรุ่นแรกนี้ ทำยอดขายได้ดีในตลาดอินเดียและประเทศต่างๆทั่วโลก’

รายงานพิเศษ LogisticNews สัปดาห์นี้ ผมจะหยิบเรื่องเบาๆแบบมีสาระมาพูดคุยกัน อย่างที่โปรยหัวครับ หลายๆคนอาจไม่เคยได้ยินเรื่อง รถพลังงานลม (Air Car) มาก่อน ผมก็เช่นเดียวกัน แต่ในยุคที่ราคาน้ำมันแพงเช่นปัจจุบัน ทุกประเทศกำลังดิ้นรนหาพลังงานทดแทนใหม่ๆ เพื่อมาชดเชยการใช้พลังงานน้ำมัน ที่ดูเหมือนว่าจะถีบตัวสูงขึ้นไม่หยุด ซึ่งอันนี้ เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจครับว่า พลังงานน้ำมัน หรือแม้แต่ก๊าซธรรมชาติ ทั้ง LPG และ NGV ทั้งหมด เป็นพลังงานที่ใช้และหมดไป เราคงทราบว่า การน้ำมันที่เราใช้นี้ เป็นสิ่งที่ขุดเจาะจากใต้ดิน ใต้ทะเล พบเจอจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก และก็เป็นโชคดี ของประเทศในตะวันออกกลาง หรืออาหรับ ซึ่งแม้ภูมิประเทศ จะเป็นทะเลทราย แห้งแล้งเวิ้งว้าง แต่ก็มีบ่อน้ำมันซ่อนอยู่ข้างล่าง ขุดเจาะเอามาขาย จนพี่แขกของผมร่ำรวยจนไม่รู้จะเอาเงินไปเก็บไว้ไหนในปัจจุบัน


เคยมีผลงานวิจัย หรือจะเรียกว่าพยากรณ์ก็ได้ ว่าอีก 50 ปีข้างหน้า น้ำมันจะถูกขุดขึ้นมาใช้และหมดไป เรื่องดังกล่าว ไม่มีใครทราบว่าจะเป็นจริงหรือไม่ แต่ก็สร้างกระแส ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ หรือตามหลักการตลาดทั่วไป เมื่อสินค้าใดมีอยู่จำกัด แต่มีความต้องการสูงในตลาด ราคามันก็สูงมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นที่มาของการเก็งกำไร ของพวกกองทุนต่างๆ ด้านกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันหรือโอเปค ก็เมินที่จะเพิ่มกำลังผลิต ทำให้ประเทศที่ผลิตน้ำมันได้น้อย และไม่มีการผลิต ต้องหาซื้อมาใช้อย่างเดียว เดือดร้อนกันถ้วนหน้า กรณีดังกล่าวรวมพี่ไทยด้วย ก่อให้เกิดกระแสการใช้พลังงานทดแทนกันทั่วโลก มีนวัตกรรมยานยนต์รูปแบบใหม่ เกิดขึ้น เช่น รถที่ใช้พลังงานน้ำมันที่ผลิตจากพืช เช่น เอทานอล ที่ใช้ผสมน้ำมันก๊าซโซฮออล์ หรือไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์ม ซึ่งไทยก็ใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งรถพลังงานไฟฟ้า รถพลังงานไนโตเจน รถพลังงานแสงอาทิตย์ จนถึงรถพลังงานลม ซึ่งแต่ละชนิด ก็ยังมีข้อดี และข้อจำกัดแตกต่างกันไป

รถพลังงานลม เป็น ยนตรกรรมที่คิดค้นขึ้นในประเทศลักแซมเบิร์ก โดยบริษัท MDI จากประเทศลักเซมเบิร์ก และ สิทธิบัตรแก่ตาต้าในการผลิตรถยนต์พลังลมในประเทศอินเดีย โดยตาต้ามอเตอร์ บริษัทรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย ประกาศผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานลมในการขับเคลื่อน โดยจะทยอยนำส่งเข้าสู่โชว์รูมในปี พ.ศ. 2552 รถยนต์พลังลม หรือ AirCar นี้ ใช้การปล่อยอากาศจากระบบบีบอัดอากาศด้วยความดันสูง โดยอากาศที่ปล่อยออกมาจะทำหน้าที่หมุนเพลาทำให้รถเคลื่อนที่ไปได้ โดยการเติมอากาศ สามารถเติมได้ตามสถานีอัดอากาศด้วยราคาไม่แพง โดยความเร็วสูงสุดที่ทำได้อยู่ที่ประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถวิ่งได้ประมาณ 200 กิโลเมตรต่อการเติมอากาศหนึ่งครั้ง หรือสามารถเสียบปลั๊ก อัดพลังงานลมเข้าถังได้ ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงที่บ้าน (ตอนกลางคืนเมื่อเลิกใช้)

รถพลังงานลมรุ่นแรกที่ออกสู่ตลาด ของตาต้า ใช้ชื่อว่า ‘CityCAT ‘ตั้งราคาไว้ประมาณ 400,000 บาท โดยตาต้าหวังไว้ว่า จุดเด่นของ CityCAT ที่ไม่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศ และราคาไม่แพง จะทำให้รถพลังลมรุ่นแรกนี้ ทำยอดขายได้ดีในตลาดอินเดียและประเทศต่างๆทั่วโลก โดยในประเทศไทย ก็มีเอกชนรายหนึ่ง เริ่มนำรถ CityCAT เข้ามาทำตลาดแล้ว
สุดท้ายต้องบอกว่า ผมยังไม่รู้ว่าสมรรถนะของรถพลังงานลมจะเป็นอย่างไร เพราะยังไม่ได้ทดสอบ แต่เรื่องนี้ก็จุดประกายให้ทุกคนคิดเรื่องพลังงานใหม่ ทุกวันนี้ เราหนีการซื้อพลังงานน้ำมันที่เขาขายให้ราคาแพง ไปหาพลังงานอื่นๆ ทั้งก๊าซธรรมชาติ ที่ก็เป็นพลังงานใช้หมดไปเช่นกัน ส่วนเอทานอล หรือไบโอดีเซล ก็มีข้อจำกัด หากความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นมาก ทำให้เราต้องเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกพืชน้ำมันมากเช่นกัน ซึ่งสุดท้ายก็มีข้อจำกัด เพราะจะไปเบียดเบียนการปลูกพืชเพื่อใช้บริโภคของมนุษย์ ดังนั้นพลังงานลมอาจเป็นทางออกที่ดีที่สุดในอนาคตก็ได้ครับ

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552

12 วิธีการประหยัดน้ำมันแบบง่าย




ตอนนี้ราคาน้ำมันก็มีวี่แววว่าจะขึ้นต่อไปเรื่อยๆ คนกรุงอย่างเรา ๆ ก็ยังคงเดินทางไปไหนมาไหนโดยอาศัย "รถยนต์" เป็นหลัก ดังนั้นไม่ว่าทางไหนที่จะสามารถประหยัดได้ก็น่าที่จะลองดูดังนั้น “ผู้จัดการ มอเตอร์ริ่ง” จึงได้มีวิธีประหยัดน้ำมันแบบง่าย ๆ 12 วิธี มาฝากกัน โดยเป็นการรวบรวมจากอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ลองปฏิบัติดูอาจจะช่วยประหยัดได้บ้างไม่มากก็น้อย


ขั้นตอนการประหยัด
1. เติมน้ำมันหลัง 4 ทุ่ม หรือก่อน 9 โมงเช้าเสมอ
2. เติมน้ำมันแค่หัวจ่ายตัดพอแล้ว
3. อุ่นเครื่อง 1 นาทีในหน้าร้อนและ 3 นาทีในหน้าหนาว
4. ค่อยๆออกตัวเมื่อรถจอดนิ่ง 1-2 พันรอบ
5. ควรใช้เกียร์สูงเมื่อรถวิ่งได้ 2500 รอบขึ้นไป
6. เครื่อง 2.0 ลิตรขึ้นไปความเร็วคงที่ที่ทำให้ประหยัด 110 กม./ชม.
7. เครื่อง 1.6 ลิตรขึ้นไปความเร็วคงที่ที่ทำให้ประหยัด 90 กม./ชม.
8. พักรถสัก 15 นาทีเมื่อขับเกิน 4 ชม.เพื่อให้ลดความร้อน
9. เกียร์ถอยกินน้ำมันมากสุด ควรค่อยๆถอยไม่ต้องรีบ
10. ก่อนถึงปลายทางสัก 500 เมตรให้ปิด COM แอร์ลดภาระเครื่อง
11. เช็คลมยางให้สม่ำเสมอทุกๆ 2 อาทิตย์และเมื่อจะออกเดินทางไปต่างจังหวัด
12. พยายามอย่าใส่ของไว้ในรถเยอะ

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552

ก๊าซชีวภาพจากพลังขี้หมู โดยสถาบันวิจัยฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




การนำขี้หมู และสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากการเลี้ยงหมู มาหมักโดยการใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ ที่นอกจากเจ้าของฟาร์มไม่ต้องจ่ายค่าพลังงานในการบำบัดน้ำเสียแล้ว ยังเป็นการควบคุมกลิ่นเหม็น น้ำเสีย และของเสีย ที่ออกจากฟาร์มเลี้ยงหมู ลดการปล่อยทิ้งก๊าซมีเทนที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเรือนกระจกอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิง เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเชื้อเพลิง และพลังงานไฟฟ้า รวมถึงยังได้ปุ๋ยอินทรีย์จากขี้หมูที่สามารถนำไปใช้ได้เลยอีกด้วย โดยโครงการระบบก๊าซชีวภาพจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ดังกล่าว ได้รับการส่งเสริมโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.)
การทำงานของระบบก๊าซชีวภาพ เป็นการอาศัยเทคโนโลยีที่ทำให้กลุ่มของจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ทำหน้าที่หมักย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำซึ่งอยู่ในรูปของของเหลวในสภาพไร้อากาศ (Anaerobic Digestion) การทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อย่างต่อเนื่องกัน ทำให้สารอินทรีย์ในน้ำเสียถูกย่อยสลายและลดปริมาณลง สารอินทรีย์ที่ถูกย่อยสลายนี้ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนรูปไปเป็นก๊าซชีวภาพซึ่งเป็นก๊าซผสมระหว่างมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ ในอัตราส่วนประมาณ 65 : 35 ก๊าซผสมนี้สามารถติดไฟได้ดี จึงใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับให้ความร้อน แสงสว่างและเดินเครื่องยนต์ได้
การส่งเสริมการใช้ระบบก๊าซชีวภาพนี้ แบ่งออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่ ระบบก๊าซชีวภาพขนาดเล็กที่กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ และระบบก๊าซชีวภาพขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่หน่วยบริการก๊าซชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้รับผิดชอบ
ระบบก๊าซชีวภาพขนาดเล็ก เป็นการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยให้สร้างระบบก๊าซชีวภาพแบบโดมคงที่ (Fixed Dome) บ่อหมักมีขนาดระหว่าง 12 - 100 ลูกบาศ์กเมตร(ลบ.ม.) เพื่อผลิตและนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มาใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม การให้แสงสว่างในครัวเรือน รวมถึงการกกลูกหมูด้วยโดยระบบนี้ รองรับหมูได้ไม่เกิน 500 ตัว มีขนาดบ่อมาตรฐาน 5 ขนาด ได้แก่ 12 ลบ.ม. 16 ลบ.ม. 30 ลบ.ม. 50 ลบ.ม. และ 100 ลบ.ม. เป็นเทคโนโลยีแบบโดมคงที่ฝังอยู่ใต้ดิน ประกอบด้วย บ่อเติมมูลสัตว์ (Mixing Chamber) ผสมกับน้ำก่อนเติมลงบ่อหมัก บ่อหมัก (Digester Chamber) ให้เกิดก๊าซมีเทนและก๊าซอื่นๆ ซึ่งก๊าซที่เกิดขึ้นนี้จะผลักดันให้มูลสัตว์และน้ำที่อยู่ด้านล่างของบ่อหมักไหลไปอยู่ในบ่อล้น บ่อล้น (Expansion Chamber) เป็นพื้นที่สำหรับรับมูลสัตว์และน้ำที่ถูกก๊าซผลักดันจากบ่อหมัก โดยการทำงานจะเป็นระบบไดนามิก คือเมื่อก๊าซเกิดขึ้นภายในบ่อหมัก ก๊าซจะมีแรงผลักดันมูลสัตว์และน้ำที่มีอยู่ส่วนล่างของบ่อหมักให้ทะลักขึ้นไปเก็บไว้ที่บ่อล้น เมื่อมีการเปิดก๊าซไปใช้ น้ำในบ่อล้นก็จะไหลย้อนกลับเข้าไปในบ่อหมักเพื่อดันก๊าซให้มีความดันเพียงพอที่จะสามารถนำไปใช้งานได้ ระบบจะเกิดอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ตลอดเวลา
การดำเนินงานของโครงการก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ในระยะแรก ก่อสร้างได้ 280 บ่อ ปริมาณบ่อรวม 6,028 ลบ.ม. ปริมาตรก๊าซ 9.20 ล้านลบ.ม. สามารถใช้ทดแทน LPG ได้ 3.95 ล้านก.ก. หรือทดแทนไม้ฟืน 10.26 ล้านก.ก. และจากการที่ยังมีเกษตรกรอีกเป็นจำนวนมากให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการฯ โครงการระยะที่ 2 จึงเกิดขึ้น ซึ่งมีปริมาตรรวมไม่ต่ำกว่า 22,000 ลบ.ม. ทั่วประเทศ สามารถรองรับน้ำเสียจากสุกร 102,000 ตัว และได้พลังงานมาใช้ทดแทนก๊าซ LPG 14.4 ล้านก.ก. หรือทดแทนใช้ฟืน 37.4 ล้าน ก.ก. ทั้งยังลดปริมาณกลิ่นและแมลงวันในพื้นที่รอบๆ ฟาร์มสุกรขนาดเล็กที่มีอยู่ทั่วไปอีกด้วย โดยโครงการนี้เกษตรกรเจ้าของบ่อต้องออกค่าใช้จ่ายเอง 55% และกองทุนฯให้การสนับสนุน 45% ของราคาการก่อสร้างและติดตั้งระบบ
ระบบก๊าซชีวภาพขนาดกลางและขนาดใหญ่ เป็นการออกแบบเพื่อใช้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ ซึ่งเกษตรกรต้องมีสุกรยืนคอก 5,000 ตัวขึ้นไป และเป็นระบบขนาด 1,000 ลบ.ม. ขึ้นไป ซึ่งมีส่วนประกอบหลายอย่างที่ทำงานสัมพันธ์กัน สามารถแยกเป็นระบบได้ 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 เป็นการย่อยสลายสารอินทรีย์ใน บ่อหมักแบบราง (Channel Digester) บ่อหมักแบบรางจะแยกของเสียส่วนข้น และส่วนใสออกจากกัน ของเสียส่วนข้นจะถูกหมักย่อยในบ่อหมักแบบรางนี้ประมาณ 20-30 วัน จนอยู่ในสภาวะที่เสถียร (Stabilized) และผ่านเข้าสู่ลานกรองของแข็ง (Slow Sand Bed Filter : SSBF) ที่เชื่อมต่อกับบ่อหมักแบบราง ลานกรองนี้จึงทำหน้าที่รับกากของเสียส่วนข้นที่ผ่านการหมักย่อยจากบ่อหมักแบบราง กากของเสียนี้สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งเป็นสิ่งที่พืชต้องการ สำหรับของเสียส่วนใสซึ่งมีปริมาณ 80 - 90 % ของของเสียทั้งหมด จะไหลผ่านไปยัง บ่อหมักแบบ UASB (Upflow Anaerobic Sludge Blanket Reactor) เพื่อบำบัดในขั้นตอนที่ 2 ต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 การบำบัดและย่อยสลายใน บ่อหมักแบบ UASB (Upflow Anaerobic Sludge Blanket Reactor) สารอินทรีย์ส่วนใหญ่ในน้ำเสียที่อยู่ในรูปสารละลายจะถูกย่อยสลายในบ่อหมัก UASB และกลายเป็นก๊าซชีวภาพในที่สุด อัตราส่วนของปริมาตรของบ่อหมักแบบรางต่อปริมาตรของบ่อหมักแบบ UASB คือประมาณ 2-3 ต่อ 1 ขึ้นอยู่กับลักษณะคุณสมบัติของน้ำเสียจากฟาร์มที่เข้าสู่ระบบบำบัด น้ำที่ผ่านการบำบัดจากบ่อหมักแบบ UASB แล้วนี้จะมีค่า COD ประมาณ 800 - 1,000 มิลลิกรัม/ลิตร
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอน บำบัดขั้นหลัง (Post Treatment) ซึ่งเป็นการบำบัดที่ออกแบบระบบให้มีการทำงานที่เลียนแบบธรรมชาติโดยอาศัยการทำงานของพืช สาหร่าย สัตว์น้ำเล็กๆ และแบคทีเรีย ซึ่งเกิดตามธรรมชาติทำงานสัมพันธ์กันเพื่อบำบัดน้ำที่ผ่านการบำบัดแบบไร้ออกซิเจนมาแล้วในขั้นต้นให้สะอาดมากยิ่งขึ้น จนสามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ทำความสะอาดคอก หรือปล่อยออกสู่ภายนอกได้ในที่สุด การ บำบัดขั้นหลัง จะประกอบด้วยสระพักแบบเปิดที่รับน้ำเสียจากการบำบัดขั้นที่ 2 แล้วปล่อยเข้าสู่บึงซึ่งปลูกพืชน้ำบางชนิดไว้ให้ช่วยในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กันกับกลุ่มของแบคทีเรีย และในส่วนสุดท้ายของชุดบึงพืชน้ำจะเป็นสระเลี้ยงปลา เพื่อใช้ประกอบในการสังเกตคุณภาพน้ำที่มีต่อสิ่งมีชีวิต น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะมีค่า COD สุดท้ายที่ไม่เกิน 200 - 400 มิลลิกรัม/ลิตร และมีค่า BOD ต่ำกว่า 60 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษยอมรับได้
เกษตรกรรายเล็ก ที่มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อได้ที่ เกษตรตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน หรือสถาบันพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลิต กรมส่งเสริมการเกษตร จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ (02)5793664 สำหรับเจ้าของฟาร์มสุกรขนาดกลางและใหญ่ ที่สนใจสามารถติดต่อไปที่ หน่วยบริการก๊าซชีวภาพ (Biogas Advisory Unit : BAU) สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตู้ ป.ณ.289 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50202 โทรศัพท์ (053)948196-8 โทรสาร (053)948195 หรือ Home Page : http://www.chmai.loxinfo.co.th/~bau/bau.html

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ทำไมเมื่อนำแผงพลังงานแสงอาทิตย์ (solar cell) ไปใช้งานจริงกลางแสงอาทิตย์ จึงทำให้ประสิทธิภาพของแผงเสื่อมลง



ปัญหาพื้นฐานที่นักวิทยาศาสตร์ขบคิดกันมานานกว่า 20 ปี ก็คือว่า ทำไมเมื่อนำแผงพลังงานแสงอาทิตย์ (solar cell) ไปใช้งานจริงกลางแสงอาทิตย์ จึงทำให้ประสิทธิภาพของแผงเสื่อมลง ซึ่งนับเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการพัฒนาการวิจัย และความต้องการที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าต้นทุนต่ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ในขณะนี้ ทีมวิจัยของห้องปฏิบัติการเอมส์ (Ames Laboratory) ร่วมกับศูนย์วิจัยไมโครอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐไอโอวา ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจค้นพบความลับที่แท้จริงของสาเหตุดังกล่าวแล้วครับ นักวิจัยบอกว่า ปกติแล้วหากนำแผงพลังงานแสงอาทิตย์ไปไว้กลางแสงแดดเป็นเวลานานหลายวัน จะทำให้ประสิทธิภาพของแผงลดลงถึงราว 15-20% ทั้งนี้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผลิตขึ้นจากซิลิคอนชนิดที่มีรูปร่างไม่แน่นอน และมีการเติมอะตอมของไฮโดรเจนลงไปด้วย (hydrogenated amorphous silicon) จัดเป็นซิลิคอนแบบที่ไม่เป็นผลึก (noncrystalline) โดยสามารถดูดกลืนแสงอาทิตย์ได้ดีกว่าซิลิคอนแบบเดิม ซึ่งเป็นแบบที่เป็นผลึก (crystalline) และการใช้ซิลิคอนแบบไม่เป็นผลึกนี้ ทำให้สามารถลดขนาดของแผ่นซิลิคอนจากเดิมที่หนาถึงยี่สิบไมครอน ให้เหลือเพียงครึ่งไมครอนได้ ทำให้ประหยัดต้นทุนลงได้มากทีเดียว กระนั้นก็ตาม แม้ว่าซิลิคอนแบบที่ไม่เป็นผลึก จะดูดกลืนแสงได้ดีมาก แต่ก็ถูกทำลายได้ด้วยแสงอาทิตย์ ด้วยปรากฏการณ์ที่เรียกว่า สเตเบลอร์-รอนสกี (Staebler-Wronski) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ การทดลองครั้งนี้ใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์เข้าช่วย เพื่อหาสาเหตุที่มาของปรากฏการณ์นี้ในระดับอะตอม และหาวัสดุชนิดใหม่ที่อาจนำมาใช้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์ได้ดีกว่า สิ่งที่รู้กันก่อนหน้านี้ก็คือว่า แสงแดดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับแผ่นซิลิคอนที่มีอะตอมของไฮโดรเจนผสมอยู่ด้วย โดยจะทำให้เกิดพันธะอิสระที่ไม่เสถียร (metastable dangling bond) ขึ้นภายใน เป็นเหมือนกับแขนอิสระที่พร้อมจะจับกับสารอื่นๆ ซึ่งพันธะอิสระที่เกิดขึ้นนี้ จะจับกับอิเล็กตรอน ทำให้ลดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นภายใน เป็นการลดประสิทธิภาพของแผงพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้ก็คือว่า กลไกระดับอะตอมที่ทำให้เกิดพันธะอิสระนี้เป็นอย่างไร ทีมวิจัยใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ศึกษาการเรียงตัวของอะตอมซิลิคอนและไฮโดรเจน ทำให้ค้นพบคำตอบดังกล่าว โดยอธิบายการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ดังกล่าว ด้วยแบบจำลองการรวมตัวแบบสามขั้นตอน (three-step atomistic rebonding model) ผลที่ได้จากแบบจำลองแสดงให้เห็นว่า แสงแดดจะไปกระตุ้นให้เกิดการแตกตัวของพันธะที่ไม่แข็งแรง ระหว่างอะตอมของซิลิคอน จากนั้นจะมีการรวมตัวกันใหม่ของอะตอม แต่จะมีการรวมตัวบางตำแหน่งที่อะตอมของไฮโดรเจนเข้ามาจับแทน ทำให้อิเล็กตรอนถูกทำลายไป ความเข้าใจในปรากฏการณ์ในระดับอะตอมนี้ อาจทำให้ค้นหาวิธีที่จะแก้ไขความบกพร่องนี้ได้ ซึ่งในขณะนี้ทีมวิจัยกำลังพัฒนาวัสดุที่จะใช้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดใหม่อยู่ โดยใช้สารผสมระหว่างซิลิคอนที่มีโครงสร้างต่างกันผสมรวมไว้ด้วยกัน นั่นคือ ใช้กลุ่มของซิลิคอนที่มีโครงสร้างเป็นผลึกที่ละเอียด (nanocrystalline silicon) ฝังไว้ภายในโครงสร้างของซิลิคอนแบบที่ไม่เป็นผลึกแบบเดิม จะช่วยเพิ่มความคงทนต่อแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น ถ้าแก้ไขปัญหาได้จริง ก็คงเป็นที่หวังได้ว่า เราอาจได้ใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และคงช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงได้บ้าง


ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.external.ameslab.gov/News/release/2003rel/solar.html

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การใช้รถแก๊ส LPG ระบบ Mixer


1. การใช้รถแก๊ส LPG ระบบ Mixer
ระบบมิกเซอร์นี้จะมีการลดอากาศที่จะนำไปใช้ในการผสมกับเชื้อเพลิงเพื่อการเผาไหม้ ลงจากเดิมไปประมาณ 60-70 % ทำให้การใช้ระบบน้ำมันในภาพรวมประสิทธิภาพจะแย่ลงกว่าเดิม การสตาร์ทเครื่องยนต์อาจจะติดยากขึ้น (มากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพเครื่องยนต์)
1.1 สำหรับเครื่องยนต์ระบบหัวฉีด
การใช้รถเมื่อเครื่องยนต์เย็นควรสตาร์ทรถด้วยน้ำมันวอร์มจนเครื่องยนต์ร้อนขึ้นประมาณ 40-50 องศา จึงเปลี่ยนมาใช้แก๊ส
1.1.1 กรณีใช้สวิทช์อัตโนมัติทั้งเครื่องเย็นหรือร้อนสตาร์ททุกครั้งจะเป็นน้ำมันแล้วจะเปลี่ยนเป็นแก็สโดยอัตโนมัติฉะนั้นเมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วด้วยน้ำมันให้กดคันเร่งเร่งรอบให้ได้ประมาณ 2,000-2,500 รอบ ระบบจะเปลี่ยนเป็นแก๊สแล้วค่อยออกรถ ถ้าเครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ให้ขับช้าๆ เพื่อวอร์มเครื่องให้ร้อนประมาณ 40-50 องศา จึงจะใช้งานตามปกติ
1.1.2 การเปลี่ยนระบบเชื้อเพลิงกรณีใช้สวิทช์ธรรมดาที่ต้องเลือกใช้ระบบเองโดยการกด/โยกสวิทช์เลือกระบบแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ขณะจอด(หยุด) และขณะวิ่ง
1.1.2.1 ขณะจอด(หยุด) เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติดแล้วให้กดคันเร่งแช่ไว้ให้รอบเครื่องยนต์อยู่ประมาณ 2,000-2,500 รอบ จึงกด/โยกสวิทช์เปลี่ยนระบบแล้วเร่งขึ้นถึง 3,000 รอบ จึงค่อยๆปล่อยคันเร่งให้รอบลดลงถึงรอบเดินเบาปกติแล้วค่อยออกรถ
1.1.2.2 ขณะวิ่งเมื่อต้องการจะเปลี่ยนระบบ ความเร็วรถต้องไม่ต่ำกว่า 50 กม./ชม. สภาพการจราจรต้องไม่ติดขัด รถข้างหน้าสามารถเคลื่อนไปได้โดยไม่ติดไม่ต่ำกว่า 500 ม. ให้ถอนคันเร่งแล้วกด/โยก สวิทช์เปลี่ยนระบบ (2 จังหวะ) สำหรับเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นแก๊ส นับเวลา (ในใจ) 2-3 วินาที รอแก๊สมาแล้วค่อยๆกดคันเร่งขึ้นไปใช้งานตามปกติ สำหรับการเปลี่ยนจากแก๊สเป็นน้ำมันให้นับเวลา (ในใจ) 3-7 วินาที เพื่อรอน้ำมันมา (ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสภาพเครื่องยนต์ของรถแต่ละคัน) แล้วค่อยๆ กดคันเร่งขึ้นไปใช้งานตามปกติ
1.2 สำรับเครื่องยนต์ระบบคาร์บิวเรเตอร์
การใช้รถเมื่อเครื่องยนต์เย็นควรสตาร์ทรถด้วยน้ำมันวอร์มจนเครื่องร้อนขึ้นประมาณ 40-50 องศา จึงเปลี่ยนมาใช้แก๊ส สำรับรถคาร์บิวฯ ไม่สามารถใช้สวิทช์อัตโนมัติได้
ฉะนั้นการเปลี่ยนระบบเชื้อเพลิงสำหรับรถคาร์บิวฯ ใช้สวิทช์ธรรมดากด/โยกได้อย่างเดียวแต่สามารถเปลี่ยนระบบได้ 2 กรณี เช่นเดียวกับรถเครื่องหัวฉีด ซึ่งทำได้ทั้งขณะจอด(หยุด) และขณะวิ่ง
1.2.1 ขณะจอด (หยุด) เมื่อเครื่องเย็นให้สตาร์ทด้วยน้ำมัน เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วให้วอร์มเครื่องจนได้ความร้อนประมาณ 40 องศา - 50 องศา แล้วกดสวิทช์ไปอยู่ตรงกลาง (OFF) เพื่อหยุดการจ่ายน้ำมัน กดคันเร่งแช่ให้รอบอยู่ประมาณ 2,000-2,500 รอบ
เมื่อเครื่องยนต์สะดุด น้ำมันในคาร์บิวจะหมด ให้กด/โยกสวิทช์ไปใช้แก๊ส แล้วกดคันเร่งต่อให้รอบถึง 3,000 รอบ จึงปล่อยคันเร่งให้รอบลดลง จนถึงรอบเดินเบาปกติ แล้วค่อยออกรถ
เมื่อเครื่องร้อนและน้ำมันไม่มีในคาร์บิว สามารถสตาร์ทแก๊สได้เลย

หมายเหตุ สำหรับเครื่องเย็นและไม่มีน้ำมันในคาร์บิว ถ้าใช้หม้อต้มรุ่นพิเศษที่มีโช้กอัตโนมัติ สามารถสตาร์ทแก๊สได้เลย โดยกดปุ่มสวิทช์โช้กค้างไว้ตอนสตาร์ท เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วจึงปล่อยปุ่มสวิทช์โช้ก กรณีนี้หม้อต้มยังเย็นอยู่จึงควรใช้งานแบบช้าๆ (ไม่ควรออกรถอย่างรวดเร็วทันที) เพื่อเป็นการวอร์มเครื่องยนต์และรักษาหม้อต้ม จนความร้อนเครื่องยนต์ประมาณ 50 องศา จึงใช้งานตามปกติ
1.2.2 ขณะวิ่งเมื่อต้องการเปลี่ยนระบบ ความเร็วรถต้องไม่ต่ำกว่า 50 กม./ชม. สภาพการจราจรต้องไม่ติดขัด รถข้างหน้าสามารถเคลื่อนไปได้โดยไม่ติด ไม่ต่ำกว่า 500 ม.
ขณะใช้น้ำมันจะเปลี่ยนเป็นแก๊ส ให้กด/โยกสวิทช์มาอยู่ตรงกลาง (OFF) เพื่อหยุดน้ำมันในคาร์บิวเรเตอร์ วิ่งไปเรื่อยๆด้วยความเร็วพอเหมาะเมื่อเครื่องยนต์สะดุด น้ำมันจวนจะหมด จึงกด/โยกสวิทช์ไปใช้แก๊สแล้วขับต่อไปได้เลย
ขณะใช้แก๊สจะเปลี่ยนเป็นน้ำมัน ให้ถอนคันเร่งกด/โยกสวิทช์ไปที่น้ำมัน นับเวลา (ในใจ) 3-7 วินาที รอน้ำมันเข้าคาร์บิว (เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับเครื่องยนต์/คาร์บิวของแต่ละคัน) จึงค่อยๆกดคันเร่งดู ถ้าน้ำมันมาแล้วรถจะวิ่งใช้งานได้ตามปกติ